การส่งเสริมคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระครูเกษมธรรมารักษ์ โกมล บุญมา
สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการส่งเสริมคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9198 สถิติที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ศึกษาวิเคราะห์วัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ สถิติแจกแจงแบบทีชนิดที่เป็นอิสระจากกัน และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม


ผลการวิจัย พบว่า 1) การส่งเสริมคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร เขตหนองจอกกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านความขยัน ด้านความมีวินัย ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์ และ ด้านความกตัญญู 2) ผลการเปรียบเทียบการส่งเสริมคุณธรรมนักเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมนั้นควรจัดกิจกรรมในนักเรียนมีส่วนร่วมเป็นการส่งเสริมคุณธรรมที่ดี นอกจากนี้การใช้วิธีการเสริมแรงทางบวกเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีกำลังใจในการทำความดี เช่น การเก็บของได้แล้วส่งให้ครู ครูกล่าวชื่นชมในความดีต่อหน้าเพื่อน ๆ เป็นต้น

Article Details

How to Cite
โกมล บุญมา พ. ., & พรพิชณรงค์ ส. . (2023). การส่งเสริมคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารธรรมวัตร, 4(1), 1–10. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/2688
บท
บทความวิชาการ

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). คู่มือการสร้างเครื่องวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เจริญ ไวรวัจนกุล. (2531). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ชั

ยพร วงศ์วรรณ. (2540). การสอนค่านิยมและจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.

ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2524). คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2544). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พัฒติยา อังคุนะ, ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี, พระพลากร สุมงฺคโล (อนุพันธ์). (2566). แนวทางพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิ

บาล ของผู้บริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 40-57.

ยุวดี บำรุงบุตร. (2566). อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กับการเสริมสร้างสังคมสันติสุข. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 223-232.

วันวิสาข์ กันทาทอง. (2566). การพัฒนาโมเดลการสร้างจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 234-245.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

เสถียร ชาวไทย. (2536). ปรัชญาคุณธรรมสำหรับครู. เชียงราย: สถาบันราชภัฎเชียงราย.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri

Rattanawong, N. (2023). The Formulation of Model for Enhancing Oral Linguistic Performance of Teaching English Major Students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus. Journal of Educational Management and Research Innovation, 5(1), 211–222.

Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.