การศึกษาข้อคิดและคติธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด เรื่อง “เด็กชายธรรมดาในดินแดนแห่งเวทมนตร์”
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาข้อคิดและคติธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด
เรื่อง “เด็กชายธรรมดาในดินแดนแห่งเวทมนตร์” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อคิดที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด เรื่อง “เด็กชายธรรมดาในดินแดนแห่งเวทมนตร์” และ 2) เพื่อศึกษาคติธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด เรื่อง “เด็กชายธรรมดาในดินแดนแห่งเวทมนตร์” ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับข้อคิดหรือแนวคิด และคติธรรม คุณธรรม และจริยธรรมในวรรณกรรมเยาวชนรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด เรื่อง “เด็กชายธรรมดาในดินแดนแห่งเวทมนตร์” วิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผลการวิจัยแบบพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า
ด้านข้อคิดหรือแนวคิดที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด เรื่อง “เด็กชายธรรมดาในดินแดนแห่งเวทมนตร์” ทั้งหมด 15 ตอน ปรากฏ 4 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดแสดงทัศนะ แนวคิดแสดงพฤติกรรม แนวคิดแสดงภาพและเหตุการณ์และแนวคิดแสดงอารมณ์ ที่พบมากที่สุด คือ แนวคิดแสดงทัศนะ รองลงมา คือ แนวคิดแสดงอารมณ์ แนวคิดแสดงภาพและเหตุการณ์ และแนวคิดแสดงพฤติกรรม
ด้านคติธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ปรากฏด้านคติธรรม คุณธรรม และจริยธรรมครบทั้ง12 ประการที่พบมากที่สุด คือ ความมีเมตตา รองลงมา คือ ความกล้าหาญกล้า ความสามัคคี ความอดทน
ความเสียสละ ความมีวินัย ความเป็นตัวของตัวเอง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ และความสันโดษพบน้อยที่สุด คือ ความขยันหมั่นเพียร
“เด็กชายธรรมดาในดินแดนแห่งเวทมนตร์” เป็นวรรณกรรมเยาวชนมีเนื้อหาที่สำคัญ
คือ การนำเสนอเกี่ยวกับการตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ เราต้องช่วยดูแลรักษาให้คงอยู่อย่างยั่งยืนนอก จากนี้ยังสอดแทรกข้อคิด คติธรรม หลักในการประพฤติปฏิบัติตน การใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เยาวชนสามารถนำข้อคิด และคติธรรมที่อยู่ในเนื้อหาไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์
ในชีวิตประจำวันได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชลดา สุทธิวรกานต์. (2552). ศึกษาความขัดแย้งของตัวละครในเรื่องสั้น รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด พ.ศ. 2550. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชไมพร พรเพ็ญพิพัฒน์. (2549). คมความคิดในวรรณกรรมร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
ชานนท์ ไชยทองดี และ คณะ. (2552). การวิเคราะห์วรรณกรรมอีสานเรื่องคดีโลกคดีธรรม. วารสาร
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 21-32. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/30024
ธนัญชย์ ชัยวุฒิมากร และ บุปผา บุญทิพย์. (2559). แนวคิดคุณธรรมในนิทานสมัยใหม่: ด้วยรักบันดาล...นิทานสีขาว ของอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรรณทิตา ปานเอี่ยม. (2554). การวิเคราะห์วรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ปี พ.ศ. 2552 ประเภทนวนิยาย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มานพ ถนอมศรี. (2546). การเขียนหนังสือ สารคดี บันเทิงคดี สำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สิปประภา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2553). คู่มือการอ่านคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: นวสาส์นการพิมพ์.
สมพร จารุนัฏ. (2541). คู่มือการเขียนเรื่องบันเทิงคดีและสารคดีสำหรับเด็ก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
สาคร พูลสุข. (2553). เด็กชายธรรมดาในดินแดนแห่งเวทมนตร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สุภาสิณี คุ้มไพรี. (2557). การสืบทอดวรรณคดีและนิทานในวรรณกรรมเยาวชนไทยช่วงปี พ.ศ. 2545-2554. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร. (2548). ทางสายใหม่แห่งวรรณกรรม ทัศนะวิจารณ์ต่อนวนิยายยุคแรก. กรุงเทพฯ: ชมนาด.
อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2542). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ:เสมาธรรม.
อารยา ทองเพชร. (2550). การวิเคราะห์แนวคิดและกลวิธีการนำเสนอแนวคิดในวรรณกรรมสำหรับเยาวชนของ นงไฉน ปริญญาธวัช. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.