หลักพุทธะ 3 รู้ ตื่น เบิกบาน: นวัตกรรมทางความคิด เพื่อส่งเสริมพุทธเกษตรอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการเชื่อมโยงความรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาประยุกต์ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่จะนำไปต่อยอดทางความคิดให้กับการศึกษาพุทธเกษตร หรือ การเกษตรวิถีพุทธ มีวัตถุประสงค์ คือ การนำเสนอนวัตกรรมทางความคิด ด้วยชุดแนวความคิด “หลักพุทธะ 3: รู้ ตื่น เบิกบาน” อันประยุกต์เพื่อเป็นหลักธรรมในการส่งเสริมพุทธเกษตร หรือ การเกษตรวิถีพุทธ ที่เป็นเสมือนเครื่องมือทางปัญญาเพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์เป็นผลงานทางนามธรรมที่จะนำไปประยุกต์ในการทำเกษตรวิถีพุทธให้เกิดเป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี เป็นเสมือนปุ๋ยทางความคิด ด้วยความหลัก คือ รู้ (Comprehension), ตื่น (Awakening), เบิกบาน (Exaltation) โดยนัยจากการศึกษาพบว่า 1) รู้ คือ เป็นผู้ใฝ่ในความรู้ เป็นผู้รู้ และเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ได้ 2) ตื่น คือ ตื่นจากความคิดเดิมๆ ตื่นจากความล้มเหลวเดิมๆ ตื่นจากความปิดกันโอกาสในการเจริญก้าวหน้าต่างๆ 3) เบิกบาน คือ เบิกบานกาย ยิ้มแย้มแจ่มใส เบิกบานใจ มีความสุขไม่เดือดร้อนใจ ซึ่ง 2 ข้อแรกเป็นเหตุแห่งความสุข และข้อหลังเป็นผลของความสุข อันหลักธรรมทั้งสามย่อมส่งเสริมต่อพุทธเกษตร หรือ เกษตรวิถีพุทธได้อย่างยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์. (2563). เกษตรกรไทยมีเท่าไรกัน. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก https://marketeer online.co/archives/.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรมวิชาการเกษตร. (2536). เกษตรยั่งยืน อนาคตของการเกษตรไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ เกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ชูสินธุ์ ชนะสิทธิ์. (27 กุมภาพันธ์ 2555). บทสัมภาษณ์. หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์.
ธนสิทธิ์ คณฑา. (2558). การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พระเทพรัตนมุนี. (2532). การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารช่อพะยอม, 25(1) ): 53.
พระไพศาล วิสาโล. (2532). พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2559). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ (Buddhist Economics). พิมพ์ครั้งที่ 15, นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.
พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที (แสงพงษ์). (2561). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับเกษตรทฤษฎีใหม่ของศาสตร์พระราชา(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนูญ มุกข์ประดิษฐ์. (2547). มัชฌิมาปฏิปทาในพระไตรปิฎกทางสายกลางในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2532 – 2534). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์วิญญาณ.
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ. (2551). เส้นทางเกษตรกรรมยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิชีววิถี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนฯ 12 ฉบับประชาชน นวัตกรรมคือหัวใจของการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.
สิรินทิพ. (2563). สวนเกษตรวิถีพุทธ. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th/ Content/19175-.html.
หทัยรัตน์ ชาญวิการณ์. (2558). การพึ่งตนเองในรูปแบบพุทธเกษตรกรรมของชุมชนศาลีอโศก อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์(สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.