รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา ในท้องถิ่นเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกช่วงวัย ในจังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

สุทธิศักดิ์ เพ็ชรผึ้ง
รองฤทธิ์ ไกรกิจราษฎร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมโดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกช่วงวัย ในจังหวัดสุโขทัย 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วมโดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกช่วงวัย  ในจังหวัดสุโขทัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีผสมผสานคือ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเสริมด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ โดยมีเครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ วิเคราะห์เอกสาร สำรวจพื้นที่ สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกต สนทนากลุ่ม และ  แบบประเมินความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติพรรณนา คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย 


ผลการศึกษา พบว่า 1) การวิเคราะห์คุณค่าและกระบวนการจัดการเรียนรู้ของภูมิปัญญา  ได้เกิดความสูญหายไปจากวิถีชีวิตในด้านการจัดการเรียนรู้ของภูมิปัญญาสืบทอดกันรุ่นต่อรุ่นโดยการลงมือ โดยมีข้อสรุปของการอนุรักษ์คุณค่าภูมิปัญญาควรบรรจุในหลักสูตรสถานศึกษา 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีความเชื่อมโยงกับพัฒนาการตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงผู้สูงอายุจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ซึ่งมีผลการทดลองหลักสูตรพบว่าการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและ ด้านสังคมตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แล้วมีความถูกต้อง เหมาะสมและเป็นไปได้

Article Details

How to Cite
เพ็ชรผึ้ง ส., & ไกรกิจราษฎร์ ร. (2024). รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา ในท้องถิ่นเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกช่วงวัย ในจังหวัดสุโขทัย. วารสารธรรมวัตร, 4(2), 6–19. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/2504
บท
บทความวิจัย

References

ชวนี ทองโรจน์. (2554). การวิจัยวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 7(1), 129-138.

พยุง ใบแย้ม, พนม พงษ์ไพบูลย์ และกรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2558). การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา. วารสารสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 14(1), 23-33.

ภานุวัฒน์ ภักดีวงศ์. (2563). ผังหลักสูตรภูมิปัญญาสังคโลกในพื้นที่ตำบลเมืองเก่าจังหวัดสุโขทัย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ภูมิปัญญาไทย. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2563, จาก http://www.info.ru.ac.th/ province/Sukhotai/cul3.htm.

สุมนทิพย์ บุญสมบัติ. (2554). การใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในจังหวัดนนทบุรีเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(1), 1-7.

สุเมษย์ หนกหลัง. (2558). กิจกรรมเสมือนชุมชนเพื่อการเรียนรู้บทบาทหน้าที่ในชุมชน:การบูรณาการ แนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 5(2), 1-13.