การเสริมสร้างสัมมาชีพของคนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาหลักสัมมาชีพของชุมชนคนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษารูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างความสุจริตและความรับผิดชอบของชุมชนคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ 3) วิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างความสุจริตและความรับผิดชอบของชุมชนคนเลี้ยงช้าง
ในจังหวัดสุรินทร์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิด 1)หลักสัมมาชีพชุมชนคนเลี้ยงช้าง 2) รูปแบบและกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนคนเลี้ยงช้าง 3) ความรับผิดชอบของชุมชนคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือชุมชนคนเลี้ยงช้างในตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มคนเลี้ยงช้าง ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น ในตำบลกระโพรวม 15 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนพรรณาเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า



1. หลักสัมมาชีพคือการประกอบอาชีพอย่างสุจริตหรือที่เรียกว่าสัมมาชีวะในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นองค์ธรรมหนึ่งในมรรค 8 เป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ การประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่คิดเบียดเบียนหรือคดโกงคนอื่นเป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ของสังคม อาชีพคนเลี้ยงช้างของกลุ่มชาติพันธุ์
กูยในจังหวัดสุรินทร์ เป็นอาชีพที่ต้องปฏิบัติตามความเชื่อและกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือหลักความเชื่อใน “ปะกำ” และหลักที่ต้องปฏิบัติคือ “คะลำ” สองหลักนี้ทำให้อาชีพคนเลี้ยงช้างเป็นสัมมาอาชีพ



2. รูปแบบการเลี้ยงช้างคนชุมชนคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์เริ่มตั้งแต่การไปคล้องช้างในป่า (ปัจจุบันไม่มีการไปคล้องช้างแล้ว) การนำช้างมาเลี้ยงไว้ในบ้านของตนเองการฝึกช้างให้ช่วยงานในด้านต่างๆ เช่นการแสดงของช้าง การใช้ช้างขนส่งสินค้าและผู้คนเป็นต้น กระบวนการที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นต้องทำไปตามหลักความเชื่อในปะกำและ คะลำทั้งสิ้น รูปแบบการเลี้ยงช้างของชุมชนคนเลี้ยงช้างจึงแตกต่างจากการเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงโดยทั่วไป


3. จากการวิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการเลี้ยงช้างเพื่อเสริมสร้างความสุจริตแล้วเห็นว่า ชุมชนคนเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ใช้กระบวนการความเชื่อในปะกำและคะลำเป็นกฎเกณฑ์ในการเลี้ยงช้าง เมื่อจะทำสิ่งใดที่เกี่ยวกับช้างเช่นออกไปคล้องช้าง นำช้างมาเลี้ยงฯลฯต้องมีการเซ่นไหว้ปะกำก่อน ต้องมีคะลำเช่นห้ามพูดคำหยาบ ด่าพ่อแม่และผิดลูกเมียคนอื่นเป็นต้น สิ่งเหล่านี้เรียกว่าคะลำ ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็มีโทษทั้งแก่ตนเอง และครอบครัว ทำให้ไม่เจริญในการประกอบอาชีพ

Article Details

How to Cite
กิตฺติวณฺโณ พ. . (2020). การเสริมสร้างสัมมาชีพของคนเลี้ยงช้างในจังหวัดสุรินทร์. วารสารธรรมวัตร, 1(1), 59–66. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tmwj/article/view/592
บท
บทความวิชาการ

References

โครงการศูนย์คชอาณาจักรสุรินท ร์. (2 5 1 6 ).สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561 จาก http://www.surin.zoothailand.org/index.php.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). สู่การศึกษาแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

พระสมุห์หาญ ปญฺญาธโร. (2561). เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียง, สัมภาษณ์ 25 กันยายน 2561.

หมิว ศาลางาม. หมอช้าง. (2561). บ้านตากลาง, สัมภาษณ์ 25 กันยายน 2561.