การศึกษาคำสแลงที่ปรากฏในนิตยสารทีวีพูลรายสัปดาห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การศึกษาคำแสลงที่ปรากฏในนิตยสาร ทีวีพูล รายสัปดาห์” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทของคำสแลงที่พบโดยจำแนกประเภทของคำตามหลักการสร้างคำในภาษาไทย และ 2) ศึกษาความหมายของคำแสลงที่ปรากฎในนิตยสาร ทีวีพูลรายสัปดาห์(ฉบับที่ 1406 วันที่
30 กรกฏาคม 2560. ฉบับที่ 1430 วันที่ 27 ธันวาคม 2560) จำนวน 24 ฉบับ ผลการวิจัย พบว่า ด้านประเภทของคำสแลงที่ปรากฏในนิตยสาร ทีวีพูล รายสัปดาห์ ฉบับที่1406 ประจำวันที่ 30 กรกฏาคม2560 – ฉบับที่1430 ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2560 รวม 24 ฉบับ ที่พบมากมากที่สุด คือ การยืมคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ รองลงมา คือ คำประสม, หน่วยคำ-คำโดด-คำพยางค์เดียว, คำซ้อน, คำซ้ำ ที่พบน้อยที่สุด คือ คำสมาส ด้านความหมายของคำสแลงที่ปรากฏในนิตยสาร ทีวีพูล รายสัปดาห์ ฉบับที่1406 ประจำวันที่ 30 กรกฏาคม2560 – ฉบับที่1430 ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2560 รวม 24 ฉบับ พบคำที่มีความหมายตรงมาก ที่สุด รองลงมาคือคำที่มีความหมายตามนัยประหวัด จากผลการวิจัย ไม่ปรากฏคำประเภทคำสนธิ นอกจากนี้ จากการวิจัยแสดงให้เห็นลักษณะการสร้างคำ ประเภทของคำ และความหมายของคำแสลงซึ่งเป็นการใช้ภาษาในการสื่อสารอีกรูปแบบหนงในสังคม คำสแลงเป็นภาษาที่สื่อสารเฉพาะกลุ่มดังนั้นจึงที่นิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคม อย่างไรก็ตามผลของการศึกษาวิจัยข้อมูลนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ของทางด้านการศึกษาพัฒนาของคำสแลงและทำให้เกิดความเข้าใจในการใช้ภาษาคำสแลงของคนสมัยใหม่ในยุคปัจจุบนอีกด้วย คำสแลงจัดอยู่ไนประเภทคำภาษาปากหรือภาษาพูด แต่เป็นภาษาทีมีความน่าสนใจคำสแลงทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของภาษาทำให้เกิดการเรียนรู้ลักษณะการสร้างคำสแลงชึ่งส่วนใหญ่คือ วัยรุ่นจะมีวิวัฒนาการอย่างไร เพราะคำสแลงเป็นภาษาที่เกิดง่ายและมีการเปลียนแปลงไปตามกาลเวลา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กอชาติ ชำนาญชาง. (2546). การศึกษาลักษณะคำสแลงของสาวประเภทสองในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กัญญนัช ชะนะจิตร. (2560). การสร้างคำและความหมายของสแลงในเฟซบุ๊ก. (วิทยานิพนธ์ศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จินตนา พุทธเมตะ. (2547). คำสแลง. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 26(1), 75-87.
ชัชนีย์ วินิจชัยนันท์. (2549). การวิเคราะห์คำศัพท์สแลงของชายที่มีจิตใจเป็นหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แนงนอย บุญยเนตร. (2548). การจดจำคำขวัญโฆษณาที่ใช้เสียงสัมผัส. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 9(1), 9-18.
พรสวรรค์ สีป้อ. (2552). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
ราชบัณฑิตยสถาน.. (2552). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเล็ต.
ราชบัณฑิตยสถาน.. (2545). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 3 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเล็ต.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2554). คนสุโขทัยยุคบุกเบิกมาจากลุ่มน้ำแดงในเวียดนาม: หลักฐานจากภาษาในปฏิทินโบราณและจารึกสุโขทัย. วารสารไทยคดีศึกษา, 8(2), 1-20.
สธนสรณ์ ยุติบรรพ์. (2555). ลักษณะการใช้และความหมายของภาษาสแลงในนิตยสารวัยรุ่น. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2553). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำ และการยืม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุปรีดี สุวรรณบูรณ์. (2561). ภาษาเพื่อการสื่อสาร . สืบ ค้น เมื่อ 5 ธันวาคม 2561, จาก http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/ Chapter3.html.