การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง พุทธประวัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านศรีไกรลาศ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ฉัตรชนกร นิลเนตร์
พิสมัย รบชนะชัย พูลสุข
ทนง ทศไกร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ เรื่อง พุทธประวัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยการใช้ชุดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ ใช้วิธีการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลอง ก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านศรีไกรลาศ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 14 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้ 3 เรื่อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพโดยรวม (E1/E2) เท่ากับ 89.68/86.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ พบว่า ผลการเปรียบเทียบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจในการใช้ชุดการเรียนรู้สื่อประสม มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
นิลเนตร์ ฉ. ., รบชนะชัย พูลสุข พ., & ทศไกร ท. . (2025). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง พุทธประวัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านศรีไกรลาศ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์, 3(2), R3274. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/rabij/article/view/3274
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โรงเรียนบ้านศรีไกรลาศ. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านศรีไกรลาศ. นครสวรรค์ : โรงเรียนบ้านศรีไกรลาศ. (อัดสำเนา)

ปริยากร กุณโรจร. (2560). การพัฒนา (ชุดการสอน และชุดกิจกรรม) เรื่องการดำเนินชีวิตบนหลักธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. เข้าถึงได้จาก https:// tw.ac.th/wp-content/uploads/2018/05/ชุดการสอนที่-1.pdf

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒนผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างจิตนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิลาวัณย์ พินสุววรณ และคณะ. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2565). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://archive. lib.cmu.ac.th/full/T/2556/tsos40556ay_ch1.pdf

สุคณธ์ สินธพานนท์. (2561). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2553). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

เอกภพ พรหมสุทธิรักษ์. (2560). การพัฒนา ประกอบการเรียนเหตุการณ์ปัจจุบัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). วิทยาลัยครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธุรกิจ.