วาทกรรมว่าด้วย “แม่ศรีเรือน” กับค่านิยมของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป

Main Article Content

สุนิสา แก้วนิ่ม
อรอุมา ซ่อนกลิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงค่านิยมของผู้หญิงที่ได้แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและบริบททางสังคม ซึ่งมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากอดีต โดยในการศึกษามักพบว่า เอกสารทางประวัติศาสตร์บทความ และงานวิจัยต่าง ๆ ผู้หญิงไทยในอดีตมักถูกกดทับด้วยแนวความคิดความรู้ และความเข้าใจที่ว่าเป็นลูกผู้หญิงไม่มีสิทธิเสรีภาพที่เทียบเท่ากับผู้ชาย รวมไปถึงการสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้หญิงมีบุคลิกภาพที่อ่อนหวาน สุภาพเรียบร้อย และอ่อนแอ อีกทั้งมีการให้ความหมายหรือตีความถึงผู้หญิงว่าผู้หญิงต้องเป็นแม่ศรีเรือน ดูแลงานบ้าน ปรนนิบัติสามีมิให้ขาดตกบกพร่อง โดยการศึกษาในครั้งนี้จะใช้แนวคิด วาทกรรมมาวิเคราะห์ร่วม และการอธิบายให้เห็นถึงปรากฏการณ์ทางบริบทของสังคมไทยที่มีค่านิยมในเรื่องการให้คุณค่าของเพศหญิง ทั้งในแง่การพยายามที่ยังคงไว้ในความเป็นแม่ศรีเรือน และในแง่มุมมองความคิดที่แตกต่างไปจากเดิมนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา

Article Details

How to Cite
แก้วนิ่ม ส. ., & ซ่อนกลิ่น อ. . (2024). วาทกรรมว่าด้วย “แม่ศรีเรือน” กับค่านิยมของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป. วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์, 2(4), A1177. https://doi.org/10.14456/journal-rabij.2024.36
บท
บทความวิชาการ

References

เวิร์คพอยท์ ทูเดย์. (2563). พบหลักสูตรแบบเรียนไทย เนื้อหาลดทอนคุณค่าผู้หญิง ตอกย้ำความเชื่อชายเหนือกว่า. เข้าถึงได้จาก https://workpointtoday.com /textbook/

เสงี่ยม ดุมพวาส. (2512). ราชประดิพัทธ์ในสมเด็นพระปิยะมหาราช. กรุงเทพฯ : เสริมวิทย์บรรณาคาร.

ใจ อึ้งภากรณ์ และคณะ. (2549). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประชาธิปไตยแรงงาน.

คณะกรรมการกำกับดูแลงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชายและความเท่าเทียมระหว่างเพศของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2564). แผนแม่บทการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย พ.ศ. 2561-2565 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. เข้าถึงได้จาก https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spm-thaigov/DRAWER004/GENERAL /DATA0001/00001237.PDF

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี. (2542). จดหมายเหตุของโยสต์ สเคาเต็น ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ณัฐรุจา วีระธรรม (2563). การสื่อสารกับการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในประเด็นเรื่อง สิทธิสตรีในสังคมไทย: กรณีศึกษา กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตวงทอง เหล่าวรรนะกูล. (2539). ผู้หญิงสามัญชนในเมืองแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสมัยรัชกาลที่ 3-5. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บีบีซี นิวส์ ไทย. (2563). เฟมทวิต : ประวัติศาสตร์ของแนวคิดสตรีนิยม และปมขัดแย้งในสังคมไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/international-53153218

ปิยะนาถ อังควาณิชกุล และสุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ. (2552). ภาพลักษณ์สตรีไทยจากเอกสารชาวตะวันตกสมัยอยุธยา. วารสารประวัติศาสตร์, 34(1), 59-78.

พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ. (2562). “ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง” มายาคติสุดล้าหลัง ที่คาดหวังให้ผู้หญิงต้องเก่งงานบ้าน และชายไทย 53.5% ยังคิดแบบนี้อยู่. เข้าถึงได้จาก https://mirrorthailand.com/culture/100336

วรารัชต์ มหามนตรี. (2557). โครงการโลกทัศน์ของคนไทยจากภาษิต. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยนเรศวร : คณะมนุษย์ศาสตร์.

วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2546). การเรียนการสอนสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมสิทธิสตรีในสังคมประชาธิปไตย. วารสารครุศาสตร์, 41(5), 214-228.

องค์ บรรจุน. (2550). หญิงมอญ อำนาจและราชสำนัก. กรุงเทพฯ : มติชน.

อรวรรณ ปิลันธน์ โอวาท. (2546). กรอบวาทกรรมวิเคราะห์กับกรณีศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Loos, T. (2006). Subject Siam: Family, Law and Colonial Modernity in Thailand. Chiang Mai : Silkworm Books.