การพัฒนาบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครสวรรค์ปัญญานุกูล อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ชัญญา ศรีงาม
พิศมัย รบชนะชัย พูลสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมือง มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียน การ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมือง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครสวรรค์ปัญญานุกูล อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อน-หลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครสวรรค์ปัญญานุกูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมือง จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมือง เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการหาประสิทธิภาพบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมือง โดยใช้สูตรคำนวณหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมือง โดยใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการหาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครสวรรค์ปัญญานุกูล อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวม (E1/E2) เท่ากับ 76.79/72.59 2) ผลการทดสอบเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครสวรรค์ปัญญานุกูล อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครสวรรค์ปัญญานุกูล อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ศรีงาม ช. ., & รบชนะชัย พูลสุข พ. . (2024). การพัฒนาบทเรียนการ์ตูน เรื่อง หน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครสวรรค์ปัญญานุกูล อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ . วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์, 2(2), R1053. https://doi.org/10.14456/journal-rabij.2024.19
บท
บทความวิจัย

References

นวลจันทร์ วิเศษ. (2552). การพัฒนาบทเรียนสําเร็จรูปการ์ตูนประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การประหยัด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ผุสดี แสงอ่อน. (2555). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนสวนป่าอุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัฒนา พรหมณี และคณะ. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(1), 59-66.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. เข้าถึงได้จากhttp://kruoiysmarteng.blogspot.com/

อาภาภรณ์ อินเสมียน. (2551). การพัฒนาบทเรียนสําเร็จรูปแบบประกอบภาพการ์ตูน เรื่อง อริยสัจ 4 กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.