การตัดสินใจเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวนของนักท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ศุภสรรค์ จวงเจิม
ชญาภัทร์ กี่อาริโย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวนของนักท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี 3) ศึกษาการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวนของนักท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี 4) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวนของนักท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี และ 5) หาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวนของนักท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวที่ตัดสินใจเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวน ในจังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน  


ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุประมาณ 41-50 ปี โดยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีอาชีพ รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานมหาวิทยาลัย ทั้งนี้มีรายได้ประมาณ 20,001-25,000 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดราชบุรี 2) นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร ด้านราคา ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 3) นักท่องเที่ยวมีการตัดสินอยู่ในระดับไม่แน่ใจว่าจะซื้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านประเภทของผ้าจกไท-ยวน ด้านโอกาสในการใช้งาน วัตถุประสงค์ในการตัดสินใจเลือกซื้อ ลวดลายของผ้าที่เลือกซื้อ ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อครั้ง และด้านความถี่ในการเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวนของนักท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวน ในจังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวนของนักท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กัน ยกเว้น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าจกไท-ยวน ในจังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศุภสรรค์ จวงเจิม, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร

 นักศึกษา หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร

อาจารย์ หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://planning.dld.go.th/, 26 พฤษภาคม 2563.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2562). ท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://ratchaburilocal.go.th/public, 20 มิถุนายน 2563.

วรัญญา แก้วเชือกหนังและฐิตินันท์ พงษ์คะเชนทร์. (2558). การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าจกในจังหวัดราชบุรีสู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์. รายงานวิจัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

นพรัตน์ ภูมิวุฒิสาร (2558). การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ภัทรกร อันตระการ (2560). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไทยของกลุ่มวัยทำงาน. วารสารเทคนิคศึกษา. ปีที่ 29 ฉบับที่ 101 มกราคม-มีนาคม, 14-16.

ทัศนีย์ วงศ์สอน. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มผ้าฝ้าย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พรรณิสา นิมมานโสภณ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าผู้หญิงจากร้านค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Instagram. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2558). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนาการศึกษา.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร (2558). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ : นัยยะเพื่อการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดตามความต้องการของผู้ซื้อ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม.

ศศิณี เชี่ยวชาญชูโชติ (2560). การศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าไทย กรณีศึกษาร้านผ้าไหมขวัญเรือน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ดารินทร์พัชร์ ธัชชัยฤทธิ์. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภคร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอนในเขตอำเภอเมือง

จังหวัดระยอง. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Kotler & Keller (2012). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (15th Global ed.). Upper Saddle River, Prentice-Hall, NJ.

กัลป์ยกร วรกุลวลัฎฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. 2551. การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิมพ์นิภา รัตนจันทร์ (2557). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการวิจัย สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน .

ฉัตราพร เสมอใจ (2556). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ด ยูเคชั่น.