แนวทางการพัฒนาธุรกิจหมี่โคราชของผู้ประกอบการขนาดย่อม ในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพในการดำเนินธุรกิจหมี่โคราชของผู้ประกอบการขนาดย่อมในจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาปัญหาในการดำเนินธุรกิจหมี่โคราชของผู้ประกอบการขนาดย่อมในจังหวัดนครราชสีมา 3) เปรียบเทียบระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจหมี่โคราชของผู้ประกอบการขนาดย่อมในจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามสภาพในการดำเนินธุรกิจ และ 4) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินธุรกิจหมี่โคราชของผู้ประกอบการขนาดย่อมในจังหวัดนครราชสีมา ประชากรคือ ผู้ประกอบการธุรกิจหมี่โคราชขนาดย่อมในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพในการดำเนินธุรกิจหมี่โคราช ส่วนใหญ่ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หมี่โคราชพร้อมน้ำปรุง โดยดำเนินธุรกิจมาแล้วเป็นเวลา 16 ปีขึ้นไป ทั้งนี้มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 10 คน สำหรับกลยุทธ์ใช้แบบการขายด้วยพนักงานขาย รวมทั้งธุรกิจมีปริมาณการผลิตเดือนละต่ำกว่า 10,000 ห่อ และมีรายได้จากการจำหน่ายเดือนละต่ำกว่า 2 แสนบาท 2) ผู้ประกอบการมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการขาย ด้านการผลิต ด้านพนักงาน ด้านการเงิน และด้านการบริหารจัดการ 3) เปรียบเทียบระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจหมี่โคราชของผู้ประกอบการขนาดย่อมในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ชนิดผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่าย ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ จำนวนพนักงานในธุรกิจ กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจ ปริมาณการผลิตต่อเดือน และรายได้จากการจำหน่ายต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีปัญหาในการดำเนินธุรกิจหมี่โคราชในจังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) แนวทางการพัฒนาการดำเนินธุรกิจหมี่โคราชคือ ควรมีพัฒนาเส้นหมี่ให้มีอายุการเก็บรักษายาวนานมากขึ้นไปอีก รวมไปถึงควรพัฒนาเส้นหมี่ให้มีรสชาติที่หลากหลาย และพัฒนารูปแบบเส้นหมี่ให้มีความทันสมัยนิยมมากขึ้น รวมทั้งควรเพิ่มช่องทางการขายทางออนไลน์ นอกจากนี้ควรหาแหล่งเงินกู้ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อใช้ในการพัฒนากิจการให้สามารถสู้คู่แข่งขันได้ มีการจ้างงานหมุนเวียนในกลุ่มสมาชิก เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และผู้ประกอบการควรให้โอกาสคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีวิสัยทัศน์กว้างไกลได้เข้ามาบริหารงาน โดยผู้บริหารรุ่นเก่าคอยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาอยู่ข้าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจเส้นหมี่โคราชสามารถเติบโต และสามารถสู้คู่แข่งที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2562). แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2560 – 2564. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.industry.go.th/, 11 ตุลาคม 2563.
จังหวัดนครราชสีมา. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nakhonratchasima.go.th/, 4 ตุลาคม 2563.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ตัวชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/, 15 ตุลาคม 2563.
ปภพพล เติมธีรกิจ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษา อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2554). ปัญหาของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.sara-dd.com/, 2 พฤศจิกายน 2563.
อังสนา ประสี. (2555). ปัญหาการดำเนินงานและความต้องการสนับสนุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครสวรรค์. รายงานการวิจัย สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2556). แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.sme.go.th/, 21 ตุลาคม 2563.
ทิตจิตตา (2560). รูปแบบและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของกิจการร้านอะไหล่รถพ่วงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม: กรณีศึกษา หจก.ชาติชัยไฮโดรลิค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กิตติ กอบัวแกว. (2553). การบริหารการผลิต. พิมพครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.