การลดของเสียในกระบวนการบรรจุ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์

Main Article Content

มาลิษา มะกำหิน
วีระกาจ ดอกจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการบรรจุ และ 2) เพื่อให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูปในโรงงานกรณีศึกษา โดยการประยุกต์แนวทางในการดำเนินงานของซิกซ์ ซิกม่า 5 ขั้นตอน (DMAIC) การดำเนินงานมีดังนี้ คือ การนิยามปัญหา (Define) โดยการศึกษาสภาพปัญหาของเสียที่เกิดจากความผิดพลาดของกระบวนการบรรจุ กำหนดเป้าหมาย ตั้งขอบเขตการปรับปรุงและจัดตั้งทีมงานร่วมระดมสมอง การวัดสภาพปัญหา (Measure) มีการเก็บข้อมูลแยกประเภทของเสีย การวิเคราะห์สาเหตุ (Analyze) โดยการระดมสมองวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดของเสียเพื่อทำแผนภูมิเหตุและผลควบคู่กับการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure mode and effect analyze process : FMEA) ซึ่งมีการประเมินค่าความรุนแรงของผลกระทบ โอกาสที่จะเกิดผลกระทบและความสามารถในการตรวจพบข้อบกพร่อง จากนั้นคำนวณค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) เพื่อให้ค่าลดต่ำกว่า 100 คะแนน การดำเนินการปรับปรุง (Improve) มีการเพิ่มกระบวนการตรวจสอบในกระบวนการบรรจุ และมีการอบรมวิธีการทำงานที่ถูกต้องแก่พนักงาน และการควบคุม (Control) จัดทำฐานข้อมูลของเสียเพื่อใช้เป็นประวัติในการนำมาใช้แก้ไขปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดและจัดทำเอกสารควบคุมกระบวนการบรรจุ เพื่อให้การบรรจุมีประสิทธิภาพสูงสุด จากนั้นเปรียบเทียบข้อมูลของเสียก่อนและหลังการแก้ไขปรับปรุง ผลของงานวิจัย พบว่า 1) หลังจากการดำเนินการปรับปรุงสามารถลดปริมาณการเกิดของเสียจาก 71 กล่อง คิดเป็นร้อยละ 0.033 ลดลงเหลือ 2 กล่อง คิดเป็นร้อยละ 0.002 ลดจำนวนของเสียโดยเฉลี่ยจาก 6 กล่องต่อเดือน ลดลงเหลือ 1 กล่องต่อ 3 เดือนโดยเฉลี่ย และ 2) ส่งผลให้มูลค่าของเสียหลังการแก้ไขปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูปในโรงงานกรณีศึกษาลดลงร้อยละ 93.662

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

มาลิษา มะกำหิน, สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

นักศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

วีระกาจ ดอกจันทร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

อาจารย์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม

References

กองควบคุมยา. (2550). คุณภาพของยา : Fact Sheet ยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฉบับที่

[แผ่นพับ]. กองควบคุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2560). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2561-2563: อุตสาหกรรมยา. รายงานผลการ

วิจัย. กรุงเทพฯ: วิจัยกรุงศรี.

Just222. (2561). [ออนไลน์]. ตลาดยาไทยโตรองแค่อินโด AI เทรนด์ใหญ่กำหนดทิศทาง [สืบค้นเมื่อวันที่

มกราคม 2563]. จาก https://marketeeronline.co/archives/102120.

ฝ่ายควบคุมคุณภาพ. (2562). ข้อมูลผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูป METFORMIN TABLET เดือนมกราคม ถึง

ธันวาคม 2562. หน้า 1-33. ในรายงานสรุปผลข้อมูลผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูป 2562. ฝ่ายควบคุมคุณภาพ.

MOROTHAI. (2561). [ออนไลน์]. Six Sigma. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2563]. จาก

http://www.moro.co.th/six-sigma.

Greedisgoods. (2563). [ออนไลน์]. Six Sigma คือ อะไร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563]. จาก

https://greedisgoods.com/six-sigma.

ISO. (2016). [Online]. USA: ISO 2859-1:1999; c1994-2016. [Cited 2020 Jan 18]. Available

from: https://www.iso.org/standard/1141.html.

Qualityinspection. (2016). [Online]. Chaina: qualityinspection2859-1:1999; c1994-2016.

[Cited 2020 Jan 18]. Available from: https://qualityinspection.org.special-inspection-

Levels.