การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของแรงงานรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ ประเมินความต้องการจำเป็นและจัดลำดับความสำคัญของความต้องการในการพัฒนาความรู้และทักษะจำเป็นทางด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของแรงงานรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งวิจัยโดยใช้วิธีการประเมินความต้องการจำเป็น (Needs Assessment Research) เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาและหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน จำนวนทั้งหมด 291 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index: PNI) แบบปรับปรุง
ผลจากการวิจัยพบว่า
1) สภาพพึงประสงค์ในภาพรวมเกี่ยวกับประเด็นความต้องการการพัฒนาความรู้และทักษะจำเป็นทางด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของแรงงานรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ( =4.32, S.D.=0.84) ซึ่งสูงกว่าสภาพปัจจุบันที่โดยภาพรวมที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =3.40, S.D.=1.07)
2) ความต้องการจำเป็นด้านความรู้และทักษะที่เป็นที่ต้องการในอนาคต (Knowledge & Emerging Skills) พบว่าความรู้และทักษะเรื่องเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะมีความต้องการจำเป็น ( ) เท่ากับ 0.36 โดยมีสภาพพึงประสงค์ที่ต้องการอยู่ในระดับมาก ( =4.24, S.D.=0.84) และความต้องการจำเป็นด้านทักษะทางด้านอารมณ์ (Soft Skill) ที่จำเป็นในอนาคต พบว่า เรื่องทักษะการวิเคราะห์ด้านปริมาณและสถิติ มีความต้องการจำเป็น ( ) เท่ากับ 0.29 โดยมีสภาพพึงประสงค์ที่ต้องการอยู่ในระดับมาก ( =4.36, S.D.=0.81)
3) ด้านความรู้และทักษะที่เป็นที่ต้องการในอนาคต (Knowledge & Emerging Skills) พบว่า เรื่องเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะมีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับที่ 1 ( =0.36) และด้านทักษะทางด้านอารมณ์ (Soft Skill) พบว่า เรื่องทักษะการวิเคราะห์ด้านปริมาณและสถิติ มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับที่ 1 ( =0.29)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
แผนพัฒนาภาค พ.ศ.2560-2565 (ฉบับทบทวน). (2563). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
ฐนิชา คงประดิษฐ์ และปรีชา คำมาดี. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3. 45-60.
รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ. (2560). กรุงเทพมหานคร : สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แนวโน้มความต้องการบุคลากรในอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต New S-Curve และทิศทางนโยบายการพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2563-2567. (2562). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ.
สมพร ปานดำ. (2563). ยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประเภทอุตสาหกรรมรองรับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 33 ฉบับที่ 116. 22-28.
ธัญญลักษณ์ รุ้งแสงจันทร์. (2561). การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0 ของแรงงานไทย. วารสารสังคมสงเคราะห์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. 172-204.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.