การพัฒนานักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสโมสรในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนานักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสโมสรในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนานักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสโมสรและเพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนานักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสโมสรด้านพื้นที่คือ เขตกรุงเทพมหานครจากสโมสรเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูล 5 คน จาก 5 สโมสรในกรุงเทพมหานครโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากสโมสรนักกีฬาเทเบิลเทนนิสของประเทศไทย
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนานักกีฬาเทเบิลเทนนิสของสโมสรในประเทศไทยมีดังนี้ 1) ด้านนักกีฬา พบว่ามีเรื่องการไม่ยอมรับผู้ฝึกสอนใหม่เมื่อมีการแบ่งกลุ่มการสอนตามความสามารถ ความพร้อมเพรียงในการมาซ้อม ทัศนคติและพฤติกรรมของนักกีฬาและผู้ปกครอง 2) ด้านผู้ฝึกสอน พบว่ามีเรื่องการพัฒนาตนเอง การถ่ายทอดความรู้หลังจากที่ได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆแล้ว 3) ด้านการบริหารจัดการ มีเรื่องการส่งนักกีฬาของสโมสรเข้าร่วมแข่งขันไม่ครบ การขาดผู้สนับสนุน 4) ด้านวิชาการ/องค์ความรู้ ในเรื่องช่วงระยะเวลาการส่งผู้ฝึกสอนเข้ารับการอบรมนานเกินไป ผู้ฝึกสอนขาดทักษะการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ฝึกสอนอื่นในสโมสรและนักกีฬา 5) ด้านเครื่องมือสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า เรื่องสภาพแวดล้อมในการซ้อมแออัดและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรินทร์ ธานีรัตน์. (2527). คู่มือกีฬา. พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพมหานคร.
Orlickand Botterill. (1980). The Challenge without competition. New York : Pantheon.
สุจิรัตน์ ชมมาพร. (2545). บทบาทของการกีฬาแห่งประเทศไทยต่อการพัฒนากีฬาของประเทศ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560.กรุงเทพมหานคร : สำนักประชาสัมพันธ์สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (2560). สรุปแผนสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐมนตรี.
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (2560-2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย (2563-2565). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จตุพร ลิ้มมณี. (2550). การสร้างแบบทดสอบทักษะนักกีฬาเทเบิลเทนนิสสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาพละศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
หทัยกาญจน์ สงเคราะห์. (2549). ผลการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวที่มีความสามารถในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาพลศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สนธยา ลีละมาด. (2551). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรพัฒน์ อัครเศรณี. (2557). คู่มือฟุตบอลโลก 2014. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ลักษณ์.
พิษณุ นาคจันเสน. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของสโมสรกีฬาเทเบิลเทนนิสเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. การจัดการการกีฬา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.
อุษณี ทวีสัตย์. (2556). การศึกษาปัจจัยและกระบวนการจัดการที่นำไปสู่ความสำเร็จของการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย (กรณีศึกษาโครงการพัฒนานักกีฬาชาติชนิดกีฬาเทเบิลเทนนิส). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพรักษ์ แกสมาน. (2553). สภาพและปัญหาการฝึกซ้อมของนักกีฬาเทนนิสที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 25. ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริพร สันติวัฒนา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการโค้ชและความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสชาย กีฬาระหว่างโรงเรียน ส่วนกลางกรมพลศึกษา ปี พ.ศ. 2556. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Fetterman, David M. (2010). Ethnography: Step by Step. Third Edition. United State of America: Sage Publication Inc.
เบญจา ยอดดำเนิน และคณะ. (2537). การศึกษาเชิงคุณภาพ : เทคนิคการวิจัยภาคสนาม. นครปฐมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุภางค์ จันทวานิช. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.