ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารในงานพิธีกรรมทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวาในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประวัติความเป็นมาและบริบทชุมชนของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวาในกรุงเทพมหานคร 2) ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารในงานพิธีกรรมทางศาสนาของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวาในกรุงเทพมหานคร และ 3) จัดทำตำรับอาหารในพิธีกรรมสำรับอาหารอัมเบิ๊งสูตรดั้งเดิมของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวา ดำเนินงานวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยทดลองโดยศึกษาเก็บข้อมูลและทำการทดสอบประสาทสัมผัส จากประชากรชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวา 50 ครัวเรือน กลุ่มประชากรตัวอย่าง 50 ครัวเรือนและปราชญ์ชุมชนจำนวน 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบทดสอบทางประสาทสัมผัส 9-point hedonic scale สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบดังนี้ 1) ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวาในกรุงเทพมหานครนั้นสืบเชื้อสายมากชาวมุสลิมเชื้อสายชวาที่ย้ายการตั้งถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในประเทศเทศตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจึงมีตั้งรกราก ขยายครัวเรือน ก่อสร้างมัสยิตเป็นศูนย์รวมจิตใจ จนเกิดเป็นชุมชนของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวาคนจนถึงปัจจุบัน 2) ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายชวานั้นยังสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอาหารสำรับใช้ในงานพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อลำลึกถึงผู้ล่วงลับนั้นคือสำรับอาหารอัมเบิ๊ง ซึ่งประกอบไปด้วยอาหาร 7 ชนิด คือ แกงอะป๊อรไก่,ผัดสะมากอแร๊ง,บัคกาแด๊ล,สะรุนแด๊ง,คะรังอะเซิ้ม,ปลาต๊องกอล และข้าวสวย และ 3) จัดทำตำรับอาหารในพิธีกรรมสำรับอาหารอัมเบิ๊งสูตรดั้งเดิมได้ผลการทดสอบจากทั้งหมด 5 สูตร พบว่า แกงอะป๊อรจากสูตรที่ 4 ผัดสะมากอแร๊งจากสูตรที่ 3 บัคกาแด๊ลจากสูตรที่ 3 สะรุนแด๊งจากสูตรที่ 1 คะรังอะเซิ้มจากสูตรที่ 4 และปลาต๊องก๊อลจากสูตรที่ 2 ได้รับการยอมรับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ประเวศ วะสี. (2547). การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง. กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
พัฒนะ วิศวะ. (2549). ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น และความสัมพันธ์เชิงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วิไล แก้วแกมเกษ. (2547). กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ที่มีผลต่อการฟื้นฟูแหล่งอาหารของชุมชนบ้านสว่าง จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหิดล.
บัณฑิต เอนกพูนสินสุข. (2562). สถานการณ์ท่องเที่ยวมุสลิมโลก. พนักงานวางแผน 4 กองวิจัยการตลาดททท. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.tatreviewmagazine.com/ สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565.
กรรณิการ์ จุฑามาศ สุมาลี. (2541). ยะวา-ชวาในบางกอก.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,สำนักนายกรัฐมนตรี.
ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร.
อภิชาติ จันทร์แดง. (2546). ความเชื่อ พิธีกรรม: กระบวนการเรียนรู้เพื่อศักยภาพการพึ่งตนเองของชุมชนชนบท ศึกษาเฉพาะกรณี ชุมชนนบ้ายางหลวง ตำบลท่ายา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสาวภา ศักยพันธ์. (2548). ตําราอาหารท้องถิ่น. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
สุนิติ จุฑามาศ. (2561). วัฒนธรรมอาหารของชาวมุสลิมไทยเชื้อสายยะวา (ชวา). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
สำนักมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย. (2551). คู่มือฮาลาล-ฮารอม. คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย, ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนิท สมัครการ. (2545). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 6 ), กรุงเทพมหานคร. โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
ศิริพงษ์ รักใหม่. (2561). การพัฒนาตำรับอาหารไทยตามมาตรฐานวิทยาลัยดุสิตธานี: ตำรับอาหารว่างและตำรับอาหารหวาน. 13(2),184-199.
Dodgshun, G., & Peters, M. (2004). Cookery for the hospitality industry (5th ed.). Cambridge University Press.