คุณค่าข้อมูลบัญชีหลังใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาคุณค่าข้อมูลบัญชีหลังการปรับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความสามารถของข้อมูลทางบัญชีว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของตัววัดมูลค่า ข้อมูลทางบัญชีสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ได้หรือไม่ และสามารถอธิบายราคาหลักทรัพย์ได้อย่างไร โดยใช้ตัวแบบจำลองทางการเงินของ Ohlson (1995) การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) วิเคราะห์ความสามารถของข้อมูลบัญชี ประกอบด้วยมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (BVPS) กำไรต่อหุ้น (EPS) กลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เปิดเผยผลกระทบจากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 มาถือปฏิบัติ โดยศึกษาข้อมูลรายไตรมาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2563 จำนวน 1,712 บริษัท
ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาข้อมูลทางบัญชีทั้งรายการมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (BVPS) และกำไรต่อหุ้น (EPS) มีความสามารถในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ได้ในเชิงบวก เมื่อเปรียบเทียบตามช่วงเวลา พบว่าก่อนใช้มาตรฐานฯ ฉบับที่ 15 กำไรต่อหุ้น (EPS) จะสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ได้ดีกว่า มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (BVPS) เมื่อนำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 มาถือปฏิบัติพบว่าข้อมูลทางบัญชีอธิบายราคาหลักทรัพย์ได้น้อยกว่าการรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม โดยมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (BVPS) มีความสัมพันธ์สามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ ดีกว่ารายการกำไรต่อหุ้น (EPS)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และ อนุวัฒน์ ภักดี. (2562). การนำ TFRS15 มาถือปฏิบัติในปีแรกส่งผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร. วารสารวิชาชีพบัญชี. 16(50), 23-42.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า.[ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563], จากhttp://www.fap.or.th/Article/Detail/67220.
ปัญญา อิสระวรวาณิช และ สุนีย์รัตน์ วุฒิจินดานนท์. (2564). ผลกระทบของ TFRS15 ต่อรายงานทางการเงินในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. วารสารบริหารธุรกิจ. 44 (169), 25-53.
Ohlson, J. A. (1995). Earnings, book values, and dividends in equity valuation. Contemporary Accounting Research. 11 (2), 661-687.
ชนากานต์ มงคลพร และ พัทธนันท์ เพชรเชิดชู. (2558). คุณค่าของข้อมูลทางบัญชีที่เกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจ : ก่อนและหลังปรับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Graham, R., King, R., & Bailes, J. (2000). The Value Relevance of Accounting Information During a Financial Crisis: Thailand and the 1997 Decline in the Value of the Baht. Journal of International Financial Management & Accounting. 11 (2), 84-107.
Outa, E. (2011). The impact of IFRS adoption on the accounting quality of companies listed in Kenya. The International Journal of Accounting and Financial Reporting. 1(1), 212-241
ปัญญา สัมฤทธิ์ประดิษฐ์. (2545). การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถของกำไรทางบัญชีและมูลค่าตามบัญชีในการใช้อธิบายราคาหลักทรัพย์หุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบัญชี. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติมา อัครนุพงศ์. (2546). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีไทยในปี 2542 ต่อความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ของข้อมูลทางการบัญชี. วิทยานิพนธ์บัญชีดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีสาขาวิชาบัญชี. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Paananen, M. & Lin, L. (2009). The development of accounting quality of IAS and IFRS over time : the case of Germany. Journal of International Accounting Research. 8 (1), 31-55.
รัชดาภรณ์ เสมาขันธ์, พัทธนันท์ เพชรเชิดชู, ศิริเดช คำสุพรหม และปรีเปรม นนทลีรักษ์. (2563). ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นและกำไรสุทธิต่อหุ้นวิธีมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน: บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. วารสารสุทธิปริทัศน์. 34 (111), 94-109.
Oskar B. & Yohannes T. (2021). The Implementation of IFRS 15 Across Europe A study on the effect of implementing IFRS 15 on value relevance in 10 European Countries. Master’s thesis. Oslo Business School. Oslo Metropolitan University. Norway.
Nadia, S. T. & Mohamed T. (2014). The Value Relevance of IFRS in the UAE Banking Industry: Empirical Evidence from Dubai Financial Market, 2008-2013. International Journal of Academic Research in Accounting Finance and Management Sciences. 4(4), 60-71.
ตุลยา ตุลาดิลก และ เดชอนันต์ บังกิโล. (2564). ผลกระทบของความเกี่ยวข้องกับมูลค่าหลักทรัพย์ของข้อมูลทางบัญชีจากการบังคับใช้ TFRS15 หลักฐานเพิ่มเติมจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี. 17(54), 30-51.
Mohammad A. (2018). Fluctuations of Stock Price and Revenue after the Early Adoption of IFRS 15, Revenue from Contracts with Customers. Italian Journal of Pure and Applied Mathematics. 41 (2019) ,724-738.