กลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ในยุคโควิด-19: กรณีศึกษา: กลุ่มผู้บริโภคเยาวชนคนรุ่นใหม่

Main Article Content

พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภค และ กลยุทธ์ รวมทั้งแนวทางการขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้ของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ในยุคสถานการณ์โควิด-19 ให้เพิ่มขึ้น เนื่องจากพบว่า มีเพียง 6.8% ของกลุ่มเด็กที่มีอายุ 6-14 ปีเท่านั้น ที่บริโภคผักและผลไม้ ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานปริมาณขั้นต่ำ 400-600 กรัม/วัน ที่ FAO/WHO กำหนดไว้ ในขณะที่การบริโภคผักและผลไม้มีประโยชน์ต่อสุขภาพและ เพราะพฤติกรรมการบริโภคของคนวัยเดียวกันมักมีพฤติกรรมคล้ายกัน และ การมีส่วนร่วมในการแสดงข้อคิดเห็นจากคนวัยเดียวกันมักเป็นกลยุทธ์ที่มีโอกาสได้รับการตอบสนองสูง อีกทั้งคนรุ่นใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์สูง ดังนั้นงานวิจัยจึงออกแบบ เก็บข้อมูลจากจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาในวิชาศิลปะการจัดการและผู้นำยุคใหม่ที่มีเนื้อหาเรียน เกี่ยวกับการจัดการและการจัดการเชิงกลยุทธ์  เทอม 2/2564 จำนวน 126 คน ของสจล. ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวัยของคนรุ่นใหม่ เพื่อขอข้อมูลพฤติกรรมการบริโภค และ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ”กลยุทธ์พร้อมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนการส่งเสริมบริโภคผักและผลไม้ในยุคสถานการณ์โควิด-19”จากคำถามปลายเปิด ผลการวิจัยได้ข้อเสนอแนะ 10 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) ใช้คำขวัญและSoft power เป็นตัวสื่อสาร (2) ให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของการทานผักและผลไม้ (3) กิจกรรมส่งเสริมการทานผักและผลไม้ตั้งแต่เด็กและเยาวชน (4) การส่งเสริมการแปรรูป (5) กลยุทธ์ด้านราคา (6) การใช้เทคโนโลยี่เพื่อการจัดการฯ (7) การส่งเสริมให้ร้านอาหารต่างๆ ใช้ผักในการประกอบอาหารเพิ่มขึ้น (8) กลยุทธ์การจำหน่าย Online (9) กลยุทธ์การลดของเสีย และ (10) กลยุทธ์ส่งเสริมการทานผักปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์

คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพ 10520

References

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2560). [ออนไลน์]. แค่เลือก 'กิน' ก็ดูดี แค่ผักผลไม้ 400 กรัม/วัน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562]. จากhttps://bit.ly/3jI19KE.

กริช เรืองไชย, อภิญญา อุตระชัย และ รุ่งอรุณ สุทธิพงษ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคผักและอาหารว่างของวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติราชฏักหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่4. วันที่ 1 มีนาคม 2559.

มนฑิญา กงลา และ เกียรติรัตน์ คุณารัตนพฤกษ์. (2555). การบริโภคผักผลไม้และพืชผักพื้นบ้านของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในชนบท อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. (บศ.) 12 (2) , 66-79.

ชนิพรรณ บุตรยี่. (2563). บริโภคผักผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพื่อสุขภาพ: หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารโภชนาการ 55 (1), 53-65

แพรพรรณ ภูริบัญชา. [ม.ป.ป]. [ออนไลน์]. โรคเรื้อรังป้องกันได้ “เพียงเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้” [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565]. จากhttps://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1085220201228080153.pdf

ไพโรจน์ เสาน่วม. (2563). [ออนไลน์]. รักนี้ ให้ ”ผัก” นำ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565]. จากhttps://www.bangkokbiznews.com/advertorials/news/1972

ปราโมทย์ เสถียรรัตน์. (2563). [ออนไลน์]. จ่อวิจัย“ฟ้าทะลายโจร” ฆ่า COVID-19 ได้หรือไม่ หลังยับยั้งไวรัสในหลอดทดลองได้ คาด 1 เดือนรู้ผล. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564]. จากhttps://www.hfocus.org/content/2020/02/18551.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฝ่ายการเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ.นครกวางโจว. (2563). [ออนไลน์]. สถานการณ์ผลไม้ไทย ในตลาดจีน ปี 2563 และแนวโน้ม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564]. จาก https://www.moac.go.th/foreignagri-news-files-431491791838

รุ่งนภา พิมมะศรี. (2563). [ออนไลน์]. ความมั่นคงทางอาหารของไทย น่าห่วงหรือไม่ในภาวะที่โลกเสี่ยงขาดแคลน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564]. จาก https://www.prachachat.net/d-life/news-472768

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). [ออนไลน์]. “ปลูกผักผลไม้” ธุรกิจดาวรุ่ง รับนโยบายรัฐบูม “มหานครผลไม้โลก”. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562] จาก https://www.prachachat.net/columns/news-215092.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2561). [ออนไลน์]. จุลทรรศน์ภาคเกษตรไทยผ่านข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและสำมะโนเกษตร เจาะลึกโครงสร้างภาคเกษตรไทย เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรจากอดีตถึงปัจจุบัน?. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562] จากhttps://www.pier.or.th/abridged/2018/09/

ธาวิดา ศิริสัมพันธ์, สงบ เพียรทำดี. (2561). [ออนไลน์]. ปลูกผักปลอดสาร ให้ได้ผลดี มีตลาดรองรับ ตาม สไตล์ ครูสงบ อดีต ผอ. ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562]. จาก https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_50264.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). [ออนไลน์]. กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์จำกัด.

Mishev, Plamen Dimitrov & Stoyanova, Zornitsa D. (2009). Supply Chain of Organic Products in Bulgaria. Bulgaria. Paper prepared for presentation at the 113th EAAE Seminar “A resilient European food industry and food chain in a challenging world”, Chania, Crete, Greece, date as in: September 3 - 6, 2009.

Frank Hu. (2562). [ออนไลน์]. งานวิจัยชี้ "โปรตีนจากพืช" กินแล้วอาจอายุยืนกว่า "โปรตีนจาก เนื้อสัตว์". [สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564]. จากhttps://www.sanook.com/health/17777/.

กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต. (2565). [ออนไลน์]. Gen Y/Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565]. จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1251.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2565). [ออนไลน์]. “นักเศรษฐศาสตร์” แนะใช้ "ซอฟต์ เพาเวอร์" ต่อยอดธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า-ท่องเที่ยวไทย”. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565]. จากhttps://mgronline.com/specialscoop/detail/9650000037548.

ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุวรรณเวหา และ อติญาณ์ ศรเกษตริน. (2560). การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4 (3) , 226-235.

ทัศนีย์ วีระกันต์. (2564). [ออนไลน์]. 'ภาคีสุขภาพ' จับมือสู้ภารกิจ อย่าปล่อยให้ 'ผัก' หายไปในปี 'ผักโลก'. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565]. จากhttps://www.bangkokbiznews.com/health/943571.

อังคณา พุทธศรี. (2563). [ออนไลน์]. ความมั่นคงทางอาหารของไทย น่าห่วงหรือไม่ในภาวะที่โลกเสี่ยงขาดแคลน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564]. จาก https://www.prachachat.net/d-life/news-472768.

Ontario Public Health Association. (2017). Eat Right Be Active : A Guide for Caregiver of children age 6-8. [www. Nutrition.ca, info@opha.on.ca] Ontario: Nutrition Resource Center Ontario Public Health Association.

ธันยมัย เจียรกุล. (2559). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปของไทยของวัยรุ่นชาวจีน ที่มาศึกษาในประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 8 ( 1), 43-60.

เดชรัต สุขกำเนิด. (2563). [ออนไลน์]. ความมั่นคงทางอาหารของไทย น่าห่วงหรือไม่ในภาวะที่โลกเสี่ยงขาดแคลน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564]. จาก https://www.prachachat.net/d-life/news-472768.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สํานักงานสถิติแห่งชาติ กองสถิติสังคม. (2561). การสํารวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2564). [ออนไลน์]. สนค. เผยผลสำรวจซื้อออนไลน์ ม.ค.-มี.ค.64 ยอดพุ่ง 75,000 ล้านต่อเดือน เพิ่ม 45.05%. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565] จาก http://www.tpso.moc.go.th/th/node/11098.