ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิต กระเป๋าเดินทางของไทยเพื่อการส่งออก

Main Article Content

เทพนารินทร์ ประพันธ์พัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก 2) ศึกษาผลการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก 3) ศึกษาระดับปัญหาของปัจจัยในการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก 4) หาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก กับผลการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก 5) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรมผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการบริษัทหรือกรรมการผู้จัดการของอุตสาหกรรมผลิตกระเป๋าเดินทางเพื่อการส่งออก จำนวน 56 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson Chi-Square วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์    


          ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย ส่วนใหญ่สถานประกอบการมีจำนวนแรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการขายในประเทศและส่งออก โดยรับจ้างผลิตตามใบสั่งซื้อของผู้อื่น ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญของสถานประกอบการ คือ สหภาพยุโรป และสถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการส่งเสริม 2) ผลการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก พบว่า มีปริมาณการผลิตกระเป๋าเดินทางลดลง  และมีมูลค่ายอดขายกระเป๋าเดินทางลดลง เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างปี พ.ศ. 2558 กับปี พ.ศ. 2559 3) ระดับปัญหาของปัจจัยในการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก โดยภาพรวม สถานประกอบการส่วนใหญ่ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการส่งออก และด้านการเงิน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก จำแนกตามด้านลักษณะการดำเนินงาน และด้านลักษณะสินค้าที่ผลิต กับผลการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรมผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก พบว่า ปัจจัยด้านการผลิต และด้านการตลาด ส่งผลต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรมผลิตกระเป๋าเดินทางของไทยเพื่อการส่งออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เทพนารินทร์ ประพันธ์พัฒน์

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก 2) ศึกษาผลการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก 3) ศึกษาระดับปัญหาของปัจจัยในการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก 4) หาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก กับผลการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก 5) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรมผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการบริษัทหรือกรรมการผู้จัดการของอุตสาหกรรมผลิตกระเป๋าเดินทางเพื่อการส่งออก จำนวน 56 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson Chi-Square วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์    

          ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย ส่วนใหญ่สถานประกอบการมีจำนวนแรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการขายในประเทศและส่งออก โดยรับจ้างผลิตตามใบสั่งซื้อของผู้อื่น ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญของสถานประกอบการ คือ สหภาพยุโรป และสถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการส่งเสริม 2) ผลการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก พบว่า มีปริมาณการผลิตกระเป๋าเดินทางลดลง  และมีมูลค่ายอดขายกระเป๋าเดินทางลดลง เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างปี พ.ศ. 2558 กับปี พ.ศ. 2559 3) ระดับปัญหาของปัจจัยในการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก โดยภาพรวม สถานประกอบการส่วนใหญ่ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการส่งออก และด้านการเงิน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก จำแนกตามด้านลักษณะการดำเนินงาน และด้านลักษณะสินค้าที่ผลิต กับผลการประกอบกิจการของอุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรมผลิตกระเป๋าเดินทางของไทย เพื่อการส่งออก พบว่า ปัจจัยด้านการผลิต และด้านการตลาด ส่งผลต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรมผลิตกระเป๋าเดินทางของไทยเพื่อการส่งออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์.ข้อสรุปการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนกุมภาพันธ์ และในช่วงมกราคม – กุมภาพันธ์ 2557.

กรมส่งเสริมการส่งออก. (2553). [ออนไลน์]. สมาชิกธุรกิจกระเป๋าเดินทาง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553]. จากhttp://www.depthai.go.th

ธานินทร์ ศิลป์จารุ.(2551).การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9.นนทบุรี : บริษัทเอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

ณัชชา สมจันทร์. (2551). การศึกษาการปรับตัวของผู้ประกอบการเครื่องหนังไทยเพื่อการส่งออก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารอุตสาหกรรมและวิสาหกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยนุช เชยคนชม. (2552).การศึกษาผลกระทบการนำเข้า สินค้าจากจีนภายใต้กรอบ ACFTA: ผลกระทบและการปรับตัวของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมกระเป๋าของไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ. (2553). ผลกระทบจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย. หลักสูตรเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์.(2551). การศึกษาวิจัยเชิงนโยบาย การเข้าสู่ตลาดจากการเปิดเสรีทางการค้าสำหรับ SMEs กรณีศึกษา: FTA อาเซียน-สหภาพยุโรป ในส่วนของ อุตสาหกรรมเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุณยกร บุณยรัตพันธุ์. (2551).ผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีต่อความผันผวนของมูลค่าการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของประเทศไทย. ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่