รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และ เพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวและกีฬาจากหน่วยงานภาครัฐ และผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและกีฬาในภาคเอกชน จำนวน 7 คน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด (ทกจ.) ผู้บริหารระดับกลาง (ผู้ช่วย ทกจ.) ผู้บริหารสมาคมท่องเที่ยวจังหวัด และผู้บริหารสมาคมกีฬาจังหวัด รวมทั้งหมดจำนวน 267 คน จาก 77 จังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง การบันทึกข้อมูลการประชุมสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ทางสถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ประกอบด้วย 3 ด้าน 10 องค์ประกอบ มีดังนี้ 1) ด้านความรู้ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) อัตลักษณ์ของท้องถิ่นและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (2) การบริหารจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร และ (3) เทคโนโลยีดิจิทัล 2) ด้านทักษะ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเรียนรู้ (2) การสร้างเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวและกีฬา (3) การบริหารจัดการ และ (4) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยวและกีฬา และ 3) ด้านคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความสำเร็จในงาน (2) การทำงานร่วมกับผู้อื่น และ (3) ภาวะผู้นำ โดยรูปแบบและคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิเป็นเอกฉันท์ว่ามีความเหมาะสมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). โรงพิมพ์สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
D.C. McClelland. (1973). “Testing for Competence Rather Than for Intelligence.” American Psychologists. Vol.17 : 1-14.
สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคง.
Hair, J F. and others. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. New Jersey: Pearsn Prentice – Hall International Inc.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560 - 2564). [ออนไลน์]. จาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20171201174031.pdf
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2556). พื้นฐานบริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุรชัย พรหมพันธุ์. (2554). ชำแหละสมรรถนะเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ปัญญา.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). [ออนไลน์]. ระบบนักบริหารระดับสูง.
[สืบค้นเมื่อ เมษายน 2563]. จาก https://www.ocsc.go.th/ses
Thongprasit, K.. (2022). Approaches for competency development of workforces in the manufacturing and service industry sector, eastern economic corridor (EEC): A case study of industrial land in Rayong province in Thailand. Journal of Management Information and Decision Sciences, 25(3), 1-18.