การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอุตสาหกรรมโรงโม่และเหมืองหินเพื่อการแข่งขัน

Main Article Content

อมรรัตน์ ชุมภู
สักรินทร์ อยู่ผ่อง
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
สมนึก วิสุทธิแพทย์

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการอุตสาหกรรมโรงโม่และเหมืองหินเพื่อการแข่งขัน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอุตสาหกรรมโรงโม่และเหมืองหินเพื่อการแข่งขัน 3) จัดทำคู่มือแนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมโรงโม่และเหมืองหินเพื่อการแข่งขัน การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 297 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ผลโดยใช้การศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจ หลังจากนั้นทำการยืนยันร่างรูปแบบที่พัฒนาโดยการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน และร่างคู่มือจะถูกนำมาประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน


       ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมโรงโม่และเหมืองหินเพื่อการแข่งขัน มี 5 มิติ 14 องค์ประกอบ ประกอบด้วย มิติที่ 1 ประสิทธิภาพองค์กร ได้แก่องค์ประกอบ 1.1) กระบวนการจัดการ 1.2) คุณลักษณะผู้บริหาร 1.3) เทคโนโลยีและการสร้างความแตกต่าง และ 1.4) พันธมิตรทางการค้า มิติที่2  ทุนทางปัญญา ได้แก่องค์ประกอบ 2.1) พนักงานเครื่องจักรและความปลอดภัย 2.2) คุณภาพสินค้าและความได้เปรียบ 2.3) การบริหารการเงิน และ 2.4) การโฆษณา การกำหนดราคา และการจ้างภายนอก มิติที่ 3 ทุนทางสังคม ได้แก่องค์ประกอบ 3.1) ความรับผิดชอบต่อสังคม และ 3.2) ความสัมพันธ์ชุมชน มิติที่ 4 สิ่งแวดล้อม ได้แก่องค์ประกอบ 4.1) การจัดการสิ่งแวดล้อม และ 4.2) การเข้าร่วมโครงการและมาตรฐานสิ่งแวดล้อม มิติที่ 5 ภาครัฐและกฎระเบียบภาครัฐ ได้แก่ องค์ประกอบ 5.1) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 5.2) ความสัมพันธ์ที่ดีกับภาครัฐ ผลการประเมินรูปแบบการและคู่มือได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเป็นเอกฉันท์ และได้นำคู่มือไปทดลองใช้ในอุตสาหกรรมโรงโม่และเหมืองหิน 5 แห่งพบว่าผลการประเมินความพึงพอใจมีค่าเท่ากับ 4.88 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อมรรัตน์ ชุมภู, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สักรินทร์ อยู่ผ่อง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สมนึก วิสุทธิแพทย์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน), รายได้ต่อหัวของประชากร. (2563). [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 17 ธันวาคม 2563]. จาก https://opend.data.go.th/search_virtuoso/after/index.jsp?language=th&dsname=vir_2941_1583063478&path=vir_2941_1583063478

ฝ่ายเศรษฐกิจและวิชาการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2564). เผยโฉม 15 อุตสาหกรรมทรง-ทรุด-ฟื้นตัวชี้ปี 2563 ปีทองของอาหาร [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564]. จาก https://www.wearecp.com/new-year63-e-001/

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2564). ทำไมต้อง อีอิซี ความเป็นมาของ อีอีซี. [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2564]. จาก https://www.eeco.or.th/th/government-initiative/why-eec

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2563). โรงงานโม่ บด และย่อยหิน. [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที17 ธันวาคม 2563]. จาก http://www1.dpim.go.th/csh/cr.php

ธนกร จันทาคึมบง, หฤษฎ์ สุภักดี และ ศิริลักษณ์ วรไวย์. (2564). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบริหารจัดการ POCCC ของอาสาสมัครประจำครอบครัวเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ปีที่ 30 ฉบับเพิ่มเติม 1 พฤษภาคม-มิถุนายน 2564. S65-S75.

Sehnem, S., Piekas, A., Bau, C. Magroc, D. Fabris, J. and Leite, A. (2020). Public policies, management strategies, and the sustainable and competitive management model in handicrafts. Journal of Cleaner Production, 266(2020), 121695.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ และ กัญญามน กาญจนาทวีกูล. (2563). แนวทางการพัฒนาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมโรงโม่บดและย่อยหิน. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 302-318.

กรธวัฒน์ สกลคฤหเดช และสุมนา จันทราช (2562) การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันจากการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจของธุรกิจการกีฬาในประเทศไทย. วิทยาลัยพณิชยศาสตร์บูรพาปริทรรศน์. 14 (1), 90-103.

Zhong, X. R. (2013). Construction safety accident prevention research based on 3E principle. In Applied Mechanics and Materials (Vol. 353, pp. 2867-2871). Trans Tech Publications Ltd.

Bak, P. (2012). Selected aspects of financial planning at mining companies. AGH Journal of Mining and Geoengineering. 36(3)(2012): 49-55.

Adomako, S and Tran, M.D. (2022). Sustainable environmental strategy, firm competitiveness, and financial performance: Evidence from the mining industry. Resources Policy. 75(2022), 102515.

Gilbert G., Hiqmatus S., and Filson M. S. (2019). Implementation of ISO 9001:2015 and ISO 14001:2015 in coal and heavy metal mining sector: Study case on Developed and Developing County. Jurnal Sains dan Teknologi Lingkungan. 11(2019), 57-73.

Bruno, V. and Claessens, S. (2010). Corporate governance and regulation: Can there be too much of a good thing?. Journal of Financial Intermediation. 19 (4)(2010): 461-482.

Schommer, P. C., Rocha, A. C., Spanio, E. L., Dahmer, lJ., and Sousa, A. D. (2015). Accountability and co-production of information and control: social observatories and their relationship with government agencies. Revista de Administração Pública. 49(6)(2015): 1375-1400.