การควบคุมอุณหภูมิโดยใช้สารละลายแคลเซียมคลอไรด์แยกน้ำในอากาศ

Main Article Content

กรวิก บัวคำ

บทคัดย่อ

       สารละลายแคลเซียมคลอไรด์มีคุณสมบัติสามารถดูดความชื้นได้ดี  ซึ่งจะทำงานได้ดีเมื่อเป็นสถานะของเหลว โดยนำมาละลายกับน้ำซึ่งจะได้เป็นสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ โดยกระบวนการใช้สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ด้วยเครื่องดูดซับความชื้นด้วยขดท่อความร้อน เพื่อควบคุมอุณหภูมิ กับห้องจำลองควบคุมสภาวะอากาศ และนำสารละลายมาเป็นตัวกลางในการดูดซับความชื้นและความร้อน ทำการทดสอบเก็บค่า อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ภายในและภายนอกเพื่อหาความแตกต่างระหว่างภายในและภายนอก ทำการทดสอบ 2 แบบคือ ใช้สารละลายแคลเซียมคอลไลด์เป็นตัวกลาง กับ ทดสอบสภาวะปกติ นำข้อมูลที่มาคำนวณในโปรแกรม Psychrometric Diagram เพื่อหาปริมาณไอน้ำที่ระบบสามารถดูดซับออกมาจากห้องทดสอบ ทำการทดสอบช่วงเวลากลางวันเป็นเวลา 6 ชั่วโมง ต่อวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ต่อการทดลอง 


       จากผลการทดลองพบว่า สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ เมื่อนำมาเป็นตัวกลางในการนำมาดูดซับความชื้น และค่าความร้อน โดยความร้อนภายนอนห้องทดสอบเฉลี่ยอยู่ที่ 38.40c ที่ความชื้น เฉลี่ย  41.67 %RH และห้องทดสอบที่ใช้สารละลายแคลเซียมคลอไรด์อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ 31.22 c ที่ความชื้น เฉลี่ย 60.16 %RH ห้องทดสอบสภาวะปกติ 35.2 c ความชื้นเฉลี่ย 61.5 %RH และจากการวิเคราะห์ผลการทดสอบพบว่าเมื่อใช้เครื่องดูดซับความชื้นด้วยขดท่อความร้อนมีความแตกต่างของอุณหภูมิ 7.18 องศาเซลเซียส คิดเป็นร้อยละ  10.45 เมื่อเทียบกับห้องสภาวะปกติ ปริมาณไอน้ำที่ระบบสามารถดูดซับออกมาจากห้องทดสอบสามารถดูดซับออกมาได้ 2.67 g/kgair

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กรวิก บัวคำ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมการทำความเย็นและการปรับอากาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

ASHRAE Handbook 2020 : HVAC System and Equipment, Chapter 22 and Chapter 24 Desiccant Dehumidification and Pressure Drying Equipment.

Kumar, R.; Asati, A.K. Simplified Mathematical Modelling of Dehumidifier and Regenerator of Liquid Desiccant System. Int. J. Curr. Eng. Technol. 2014, 4, 557–563

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2551). [ออนไลน์]. การลดความชื้นด้วยสารดูดความชื้นเหลว. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567]. จาก http://www2.dede.go.th/Advancetech/vol1/Asset/Technology/Liquid.pdf.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (2531). สารเคมีฝนหลวง. กรุงเทพมหานคร : โครงการสารานุกรมไทยฯ.

A Suwono & Y S Indartono. (2014). Application of calcium chloride as an additive for secondary refrigerant in the air conditioning system type chiller to minimized energy consumption. IOP Conference Series: Materials Science and Engineering. 2015, 88, 12-35.