การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของชุมชนโพธิ์ซ้ายร่มเย็น ตำบลนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

คงศักดิ์ บุญอาชาทอง
ชูติวรรณ บุญอาชาทอง
สายสุดา ปั้นตระกูล

บทคัดย่อ

     ปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อปัญหาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ประชาชนเจ็บป่วย การจัดการขยะไม่ถูกต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและกลายเป็นปัญหาต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลัก คือ การขาดความร่วมมือของคนในชุมชน การจัดการปัญหาขยะจึงต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนร่วมกันแก้ไข ด้วยการลดขยะและการคัดแยกขยะ โดยใช้หลัก 3Rs เพื่อลดปัญหาการเกิดขยะและลดระยะเวลาในการกำจัดขยะ ซึ่งชุมชนบ้านโพธิ์ซ้ายร่มเย็น อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้นำแนวทาง 3R ไปปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จ ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนและเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งแรกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

คงศักดิ์ บุญอาชาทอง, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร

ชูติวรรณ บุญอาชาทอง, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร

สายสุดา ปั้นตระกูล, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). การศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอย ปี 2564. กรุงเทพมหานคร: กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ปริมาณขยะมูลฝอย ปี 2565. thaimsw.ped.go.th

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570). กรุงเทพมหานคร: กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

พันธุ์วดี พูลสวัสดิ์. ประธานชุมชนโพธิ์ซ้ายร่มเย็น. สัมภาษณ์. 19 มีนาคม 2565.

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์ และศิวพันธุ์ ชูอินทร์. (2560). การจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). คู่มือการคัดแยกองค์ประกอบขยะมูลฝอย ณ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย. กรุงเทพมหานคร: กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย.

สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2563). แนวคิด 3RS รักษ์โลก. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565] จาก https://webportal.bangkok.go.th

Kalra, N. (2019). Community Participation and Waste Management (Sustainable Waste Management: Policies and Case Studies. In Sustainaible Waste Management: Policies and Case studies. Vol. 1. Springer, 115-123.

วงศ์วรรธน์ บุญวัฒน์. (2564). การจัดการปัญหาขยะในชุมชนแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบ นำร่องการจัดการขยะต้นทาง “ชุมชนบ้านม่วงหวาน (มัสยิดซำซุ่ลฮุดาห์)” ตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 7 (1), 116-134.

Santoso, N. A. and Farizal. (2019). Community Participation in Household Waste Management: An Exploratory Study in Indonesia. E3S Web of Conferences. Vol. 125, 907013.

ปัทมาภรณ์ สุวรรณปักษิน และสรัญญา ถี่ป้อม. (2559). การจัดการมูลฝอยที่ประสบความสําเร็จของชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษาชุมชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดชุมชนปลอดขยะ Zero Waste ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9 (2), 17-25.

ชุมชนโพธิ์ซ้ายร่มเย็น. (2020). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565] จาก https://www.scg.com/ sustainability/circular-economy/global-thailand-practices/phosai-romyen-community/