การศึกษาผลกระทบของน้ำมันหล่อลื่นจากการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เป็นเชื้อเพลิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของน้ำมันหล่อลื่นจากการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เป็นเชื้อเพลิง โดยนำเครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็ก 4 จังหวะ สูบเดียว ติดตั้งเข้ากับอัลเทอร์เนเตอร์ที่ต่อกับภาระทางไฟฟ้า เพื่อทำหน้าที่เป็นภาระการทำงานของเครื่องยนต์ ซึ่งการทดสอบการสึกหรอของเครื่องยนต์ทดสอบตามมาตรฐาน 200-hr. screening test for alternative fuels (EMA 200 hours test) โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ก่อนทำการทดสอบ และหลังทำการทดสอบที่ 20 ชั่วโมง 100 ชั่วโมง และ 200 ชั่วโมง ตามลำดับ เพื่อนำไปศึกษาผลกระทบต่อของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ผลการทดสอบพบว่า น้ำมันหล่อลื่นที่ 200 ชั่วโมง พบปริมาณความชื้น เขม่า ค่าออกซิเดชั่น และค่าไนเตรชั่นมากกว่าชั่วโมงการทำงานอื่น โดยปริมาณความชื้นและเขม่าที่ผสมอยู่ในน้ำมันหล่อลื่นมีปริมาณเท่ากับ 0.145 %wt และ 0.3 %wt ตามลำดับ ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุม และพบค่าออกซิเดชัน และไนเตรชันที่สูงกว่าเกณฑ์ควบคุม ขณะที่น้ำมันหล่อลื่นที่ผ่านการใช้งานที่ 100 ชั่วโมง มีปริมาณเหล็กและอลูมิเนียมมากกว่าชั่วโมงทำงานอื่นโดยมีปริมาณเท่ากับ 84.155 ppm และ 74.495 ppm ตามลำดับ ซึ่งปริมาณปริมาณความชื้น และเขม่าที่เพิ่มขึ้นไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อน้ำมันหล่อลื่นและเครื่องยนต์เนื่องจากยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุม ขณะที่ค่าออกซิเดชัน และไนเตรชันที่สูงเกินเกณฑ์ควบคุมจะทำให้น้ำมันหล่อลื่นเสื่อมสภาพ ส่งผลทำให้เครื่องยนต์เกิดการสึกหรอที่มากขึ้น ขณะที่การพบโลหะในน้ำมันหล่อลื่นมากขึ้นทำให้น้ำมันหล่อลื่นสกปรก ส่งผลให้เกิดการสึกหรอแบบขูดขีด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ลิขิต ใสหนู, สมมาส แก้วล้วน, พิชัย อัษฎมงคล. (2548). การศึกษาการสึกหรอเครื่องยนต์ที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 1 (1) (ปฐมฤกษ์) กุมภาพันธ์-กรกฎาคม. 14-19.
EMA. (1982). 200-hour screening test for alternative fuel. Energy News. Peoria, III. : Northern Agricultural Energy Center.
เนรมิต กระแสลม. (2552). การวิเคราะห์ผลกระทบต่อการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะสูบเดียว จากการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต. ภาควิชาวิศกรรมการผลิตบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิชัย ตันติพิมพ์กุล, ศิวพงษ์ ตั้งสุจริต. (2552). [ออนไลน์]. การปนเปื้อนของน้ำในน้ำมันหล่อลื่น. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565]. จาก https://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/p58-65.pdf.
Robinson N, Hons B S. (2000). Monitoring oil degradation with infrared spectroscopy. Wear Check-Techn Bull 18: 1–8.
สุรพล ราษฎร์นุ้ย. (2545). วิศวกรรมการบำรุงรักษา. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชัน.