การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก ประเภทเครื่องมือช่างและวัสดุก่อสร้าง ในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ว่าที่ร้อยตรี เบญจพล ศรีสันติธรรม
กุลทรัพย์ ทองประสิทธิ์
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก ประเภทเครื่องมือช่างและวัสดุก่อสร้างในยุคดิจิทัล และ 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attributes) ของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก ประเภทเครื่องมือช่างและวัสดุก่อสร้างในยุคดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้บริหารระดับเจ้าของกิจการธุรกิจค้าปลีก ประเภทเครื่องมือช่างและวัสดุก่อสร้าง จำนวน 7 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับเจ้าของกิจการ ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ และหัวหน้างานของธุรกิจค้าปลีก ประเภทเครื่องมือช่างและวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ประกอบการธุรกิจร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าในช่องทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 323 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการมีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า ผู้ประกอบการมีความต้องการเพิ่มพูนความรู้ด้านการให้คำปรึกษาและแนะนำสินค้าให้ลูกค้านำไปใช้งานได้ถูกต้อง ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าที่ลูกค้าต้องการนำไปใช้งาน และความรู้ในการบริหารจัดการขนส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตรงตามกำหนดเวลาที่นัดหมาย ซึ่งอยู่ในระดับมากเท่ากันทั้ง 3 ข้อ สำหรับความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านทักษะในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า ผู้ประกอบการมีความต้องการเพิ่มพูนทักษะด้านการสื่อสารกับลูกค้า ทักษะด้านการคำนวณราคาขายสินค้า และทักษะด้านการคำนวณต้นทุนสินค้า ในขณะที่ความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ พบว่า ผู้ประกอบการมีความต้องการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 4 อันดับแรก ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ อดทน ด้านมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และส่งเสริมคนอื่นก้าวหน้า ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุดเท่ากับความมีคุณธรรมและจริยธรรม นอกจากนี้ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก ประเภทเครื่องมือช่างและวัสดุก่อสร้างในยุคดิจิทัล พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ว่าที่ร้อยตรี เบญจพล ศรีสันติธรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

กุลทรัพย์ ทองประสิทธิ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.). (2557). รายงานประจำปี 2557.กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2561). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

รวิศ หาญอุตสาหะ. (2557). Marketing everything!. กรุงเทพมหานคร : เพื่อนคู่คิด.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). [ออนไลน์]. สสว.นำ “รายได้” กำหนดนิยาม SME ปี 63 พบเกือบ 4 แสนรายเป็นกลุ่ม Micro. [สืบค้น 26 มีนาคม 2565]. จาก https://mgronline.com/smes/photo-gallery/9630000004850

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). [ออนไลน์]. เปิดโผธุรกิจรุ่ง ปี 62. [สืบค้น 26 มีนาคม 2565]. จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Business-Trend-2019.pdf

ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2562). [ออนไลน์]. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2562-2564: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. [สืบค้น 22 มีนาคม 2565]. จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Construction-Construction-Materials/Construction-Contractors/IO/Industry-Outlook-Construction-Contractors

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร : บิซิเนสอาร์แอนด์ดี.

D.C. McClelland. (1973). “Testing for Competence Rather Than for Intelligence.” American Psychologists. Vol.17 : 1-14.

Thongprasit, K.. Competency Development for Personnel Responsible for Energy Management in Textile Industry under the Ministry of Energy. Ph.D. thesis, Industrial Business and Human Resource Development, Graduate School, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2020. (in Thai).

Thongprasit, K.. (2022). Approaches for competency development of workforces in the manufacturing and service industry sector, eastern economic corridor (EEC): A case study of industrial land in Rayong province in Thailand. Journal of Management Information and Decision Sciences, 25(3), 1-18.

Wu.S.I, and Lu.C.L. (2012). “The relationship between CRM, RM, and business performance: A study of the hotel industry in Taiwan,” International Journal of Hospitality Management. 31(5), 276–285.