การศึกษาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์
วีรพจน์ รัตนวาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำแนกตามสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และสาขาวิชาสังคมศึกษา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 218 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.970 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One-way ANOVA และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Seheffe’ Method)


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเจตคติต่อการทำวจัยในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาเป็นด้านความรู้พื้นฐานการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก และด้านทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ยน้อยสุดอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ  2) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้ง 6 สาขาวิชา มีสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียน เมื่อทำการทดสอบเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Seheffe’ Method) พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 คู่ ได้แก่ สมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา สูงกว่าสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ  

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์

สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วีรพจน์ รัตนวาร

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

References

The objectives of this research project are to study on the classroom research competency of student teachers in teaching practices at the Faculty of Education, Suan Sunandha Rajabhat University; and to compare the classroom research competency of student teachers in teaching practices at the Faculty of Education, Suan Sunandha Rajabhat University, sorted by departments. The samples for this research project are intern teachers who are year 5 students of the Faculty of Education, Suan Sunandha Rajabhat University, from 6 departments, namely, Thai Language Department, English Language Department, Mathematics Department, Department of Early Childhood Education, Department of Basic Sciences and Department of Social Studies in the academic year of 2019. The total number of the samples is 218. The tool used in the research is a questionnaire that uses 5 scales parameters, with the reliability score for the entire questionnaire being 0.970. The statistical values used for data analysis are means, standard deviations, and One-way ANOVA values. In addition, there are pair-tests with Seheffe’ Method.

The findings from the research are as follows. (1) The overall classroom research competency of student teachers is in the high level . Considered separately, the category of the attitude toward classroom research has the highest mean, which falls in the high level, followed by the category of basic knowledge of classroom research, which is in high level, and the category of classroom research skill, with the lowest mean, which is in the high level, respectively. (2) Student teachers from 6 departments (branches) have the overall classroom research competency that shows no statistically significant difference. Considered separately, the category of classroom research skill shows difference with statistical significance of 0.5. The results from the pair-tests with Seheffe’ Method show that student teachers have classroom research competency with difference, with statistical significance of 0.5, in 1pair, which shows that the classroom research competency of students of Department of Social Studies which is higher than the classroom research competency of students of English Language Department .