การพัฒนารูปแบบสมรรถนะนิติกรมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล

Main Article Content

รุ่งทิพย์ ฮุนตระกูล

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะในการปฏิบัติงานของนิติกรมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนิติกรมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบสมรรถนะนิติกรมหาวิทยาลัยในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านกฎหมาย จำนวน 19 ท่าน ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองกฎหมาย หรือเทียบเท่าที่ปฏิบัติหน้าที่กำกับ ดูแล และบังคับบัญชานิติกรในองค์กรของรัฐและเอกชน ได้แก่ มหาวิทยาลัย กระทรวง สำนักงานอัยการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน และ 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อการสัมภาษณ์  แบบสอบถามปลายปิดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควลไทล์ (IQR) 


       ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนิติกรมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน และ 15 สมรรถนะหลัก ได้แก่ 1. ด้านความรู้ มี 5 สมรรถนะหลัก คือ 1) ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. การจัดตั้งมหาวิทยาลัย ระเบียบ และประกาศมหาวิทยาลัย 2) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางการเงิน พัสดุของทางราชการ และกฎหมายแรงงาน  3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางเทคโนโลยีดิจิทัล 4) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา และกฎหมายพิเศษ และ 5) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ และความรู้ภาษาอังกฤษ  2. ด้านทักษะ มี 6 สมรรถนะหลัก คือ 1) ทักษะการตีความ สรุปเรื่อง และวิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมาย 2) ทักษะในการยกร่างกฎหหมาอนุบัญญัติ งานคดี และงานสอบสวนต่าง ๆ 3) ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัลในงานกฎหมาย 4) ทักษะในการปฏิบัติงานนิติกรรม สัญญา และข้อตกลง 5)  ทักษะในการสื่อสาร ประสานงาน และการเจรจาไกล่เกลี่ย และ 6 ทักษะในการจัดเก็บ สืบค้น และให้บริการข้อมูลทางกฎหมาย และ 3. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มี 4 สมรรถนะหลัก คือ 1) มีความใฝ่รู้ รักองค์กร รักงานด้านกฎหมาย มีใจให้บริการ และกล้าแสดงออก 2) มีความมุ่งมั่น รับผิดชอบ กระตือลือรือร้น ขยัน ตรงต่อเวลา  3) ยึดมั่นในคุณธรรม จรรยาบรรณ มีความซื่อสัตย์ และมีเหตุผล  และ4) มีระเบียบวินัย และมีความรอบคอบในการปฏิบัติงาน


       ผลการประเมินรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากการประชุมสนทนากลุ่ม  มีความเห็นว่าองค์ประกอบของรูปแบบมีความเหมาะสม ครบถ้วน ชัดเจน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

รุ่งทิพย์ ฮุนตระกูล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

มาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 ตำแหน่ง นิติกร

โครงสร้างการบริหารกองกฎหมาย เผยแพร่บนเว็บไซต์กองกฎหมาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ https://law.kmutnb.ac.th/?page_id=26

McClelland, D.C. (1973). “Testing for Competence Rather Than for Intelligence.” American Psychologists. Vol 17 : 1-14.

ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม. (2555). การวิจัยด้วยวิธีเดลฟาย:การใช้มติสอดคล้องโดย เสียงข้างมาก วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 7(18) : 1-13.

สำนักงาน ก.พ. (2552). กฏ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งมาตรฐานกำหนดตำแหน่งงาน กพ. ฉบับแกไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 : วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

Kenneth V.L. (2003). Competency Requirements of Purchasing and Supply Management Professional for the Beginning of〖 21〗^st Century by Walden University, New York.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) งานวิจัย เรื่อง “การพัฒนารูปแบบสมรรถนะนิติกรมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล” (16 กุมภาพันธ์ 2567) ณ ห้องราชพฤกษ์ อาคารนวมินทราชินี มจพ.

Sanches (2006). “The Effect of Information Technology Management Capability on Firm Competitiveness.” EMCIS Vol.15 No.18 : 344-355.