ปัจจัยความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อด้านแรงงานในภาพรวมของบริษัทที่ดำเนินการผลิตและบริการในนิคมอุตสาหกรรม เขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

พิพรรธน์ พิเชฐศิรประภา
วัฒนา พิลาจันทร์

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยภายในกิจการและปัจจัยความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อด้านแรงงานในภาพรวมของบริษัทที่ดำเนินการผลิตและบริการในนิคมอุตสาหกรรมเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อด้านแรงงานในภาพรวมของบริษัทที่ดำเนินการผลิตและบริการในนิคมอุตสาหกรรมเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานของภาพรวมในนิคมอุตสาหกรรมเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างาน จำนวน 15 ราย 


       ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยภายในกิจการและปัจจัยความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อด้านแรงงานในภาพรวมมีปัจจัยการจัดหาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก การให้รางวัลผลตอบแทนอยู่ในระดับมาก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก และการจัดการความก้าวหน้าในสายอาชีพอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อด้านแรงงานในภาพรวมมีค่าร้อยละ 64.44 และ 3) ข้อคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านแรงงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากองค์การควรมีกิจกรรมเสริมทักษะที่เน้นตรงตามสายงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำไปศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ลดปัญหาความล้าช้าในการทำงานส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พิพรรธน์ พิเชฐศิรประภา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

วัฒนา พิลาจันทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

References

ดวงกมล วิเชียรสาร และ ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของผู้แทนยาบริษัทยาข้ามชาติ ในเขตกรุงเทพมหานคร. Humanities, Social Sciences and arts 12 (6), 1192-1213.

แนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงาน. (2564). [ออนไลน์]. แนวโน้มความต้องการของ ตลาดแรงงาน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2564]. จาก http://www.lpt.ac.th /lpt/images/Publication/information63/8. ตลาดแรงงาน.pdf.

สุวภัทร ศรีสว่าง และ ณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2562). สวัสดิการและค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14 (3), 294-303.

แรงงานไทยกับความท้าทายในยุคของเทคโนโลยี. (2564). [ออนไลน์]. แรงงานไทยกับความท้าทายในยุคของเทคโนโลยี.[สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2564]. จาก https://researchcafe.org/the-roles-of-trade-and-technology/.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2564). [ออนไลน์]. รายงานวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรม.[สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564].จาก https://chachoengsao.industry.go.th/th.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Jonsen, K., & Jehn, K. A. (2009). Using triangulation to validate themes in qualitative studies. Aualitative Research in Organizations and Management, 4(2), 123-150.

ศศิวิมล ภิวัฒน์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 13(1),198-215.

ณัฐวรา ชมแก้ว , ธนายุ ภู่วิทยาธร และ นิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศรี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันต่อองค์กรและประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.วารสารวิทยาการจัดการ. 4 (2),89-116.

กัลยรัศมิ์ ทิณรัตน์. (2559). ผลกระทบของการบริหารค่าตอบแทนที่มีต่อความกระตือรือร้นใน การทำงานของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 8(2),157-165.

พัชรนันท์ จิระวัฒนภิญโญ. (2558). การวางแผนอาชีพกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรมปศุสัตว์.การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.หน้า 1267-1279.