สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง หลักสูตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 90 คน ประกอบด้วยอาจารย์ 10 คน ผู้สำเร็จการศึกษา 50 คน สถาปนิก 20 คน และวิศวกร 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตามความคิดเห็นต่ออุปสรรคและปัญหาการจัดการเรียนการสอน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลต่อการสอน และด้านสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับพื้นที่ว่างและอาคาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย ด้านที่ 1 ด้านการเรียนการสอน การสอนทฤษฎี อาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษา และสถาปนิก มีความคิดเห็นว่า เนื้อหาทฤษฎีเป็นอุปสรรคและปัญหามากที่สุด แต่วิศวกร มีความคิดเห็นว่า การอธิบายเนื้อหาและประสบการณ์ของผู้สอนเป็นปัญหามากที่สุด การสอนภาคปฏิบัติ ทุกคนให้ความคิดเห็นว่า การปฏิบัติงานจริงเป็นอุปสรรคและปัญหามากที่สุด การศึกษาด้วยตนเอง อาจารย์ความคิดเห็นว่า การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสำรวจและการเก็บข้อมูลจากสถานที่จริงเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษา มีความคิดเห็นว่า การสำรวจและการเก็บข้อมูลจากสถานที่จริงเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการสอนมากที่สุด สถาปนิก และวิศวกร มีความคิดเห็นว่า หนังสือเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด การค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือเป็นอุปสรรคและปัญหามากที่สุด ด้านที่ 2 องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง 3 กลุ่ม Software Platform เช่น Building Information Modeling (BIM) อาจารย์ ผู้สำเร็จการศึกษา สถาปนิก มีความคิดเห็นว่า การมีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด วิศวกร มีความคิดเห็นว่า Equipment and System (Prefabs) และ Construction Robotics อาจารย์ มีความคิดเห็นว่า มีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษามีความคิดเห็นว่า มีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด สถาปนิกมีความคิดเห็นว่า ยังไม่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและมีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด วิศวกร มีความคิดเห็นว่า ขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้เป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด User Interface เช่น Virtual Reality (VR) อาจารย์ มีความคิดเห็นว่า ยังไม่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษา และวิศกร มีความคิดเห็นว่า ขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้ เป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด สถาปนิก มีความคิดเห็นว่า มีองค์ความรู้แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด เสนอแนะว่า ควรให้มีการพัฒนาการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาในช่วงชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ด้านที่ 3 ด้านสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน พื้นที่ว่าง อาจารย์ และสถาปนิก เห็นควรให้มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านพื้นที่ใช้ในก่อสร้างจริงของอาคารตัวอย่างเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษาเห็นควรให้มีการพัฒนาพื้นที่ใช้ในการสอนด้วยรูปแบบการปฏิบัติเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากที่สุด วิศวกรเห็นควรให้มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านพื้นที่ใช้ในการสอนด้วยรูปแบบการปฏิบัติเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนและผู้สอน มีพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมอเนกประสงค์ จัดสัมมนาและนิทรรศการ ควรให้ผู้เรียนมีส่วนในการออกแบบ เน้นการปฏิบัติงานจริง อาคาร อาจารย์ และสถาปนิก มีความคิดเห็นว่า ด้านขนาดพื้นที่ต่อการใช้งานของอาคารเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ผู้สำเร็จการศึกษา และวิศวกร มีความคิดเห็นว่า ด้านสภาพแวดล้อมและบริบทโดยรอบอาคารเป็นอุปสรรคและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะอาคารสามารถรองรับการสอนตามรูปแบบการปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้ได้ในระบบการทำงานจริงมีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมกับการทำงานและสามารถผ่อนคลาย เพียงพอกับจำนวนของผู้ใช้ พื้นที่ในอาคารควรมีมุมสงบ สามารถนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจและมีอากาศถ่ายเทสะดวก เหมาะในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม สภาพแวดล้อมและการจัดวางพื้นที่โดยรอบสนับสนุนต่อการทำงาน มีห้องปฏิบัติการ สำหรับการทดลองหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อรองรับความคิดเห็นของนักศึกษา 2) ผลการศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ในสถาบันอุดมศึกษาประเทศไทย ด้านที่ 1 ด้านการเรียนการสอน การสอนทฤษฎี เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 การสอนภาคปฏิบัติ เสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 การศึกษาด้วยตนเอง เสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 ด้านที่ 2 องค์ความรู้ทางเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง 3 กลุ่ม Software Platform เช่น Building Information Modeling (BIM) เสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 Equipment and System (Prefabs) และ Construction Robotics เสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 User Interface เช่น Virtual Reality (VR) เสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการเรียนการสอน การปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาช่วงชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4ด้านที่ 3 ด้านสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน พื้นที่ว่าง มีพื้นที่สำหรับการจัดทำกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย สามารถเข้าใช้พื้นที่ได้สะดวก รวดเร็ว มีอุปกรณ์ให้ใช้หลากหลาย ในการทำ Workshop มีพื้นที่ที่มีอุปกรณ์การก่อสร้าง พื้นที่ให้ลงมือทำงานเองได้จริง โดยได้สัมผัสกับประสบการณ์จริงด้วยตนเองของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจการทำงานมากขึ้น มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยและเหมาะสมต่อเทคโนโลยีก่อสร้างในปัจจุบันและอนาคต มีพื้นที่การปฏิบัติสำหรับทำการสัมมนา และจัดนิทรรศการ (Exhibition) สำหรับอาคาร สามารถรองรับการสอนตามรูปแบบการปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้ได้ในระบบการทำงานจริงมีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมกับการทำงาน เหมาะในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมสนับสนุนต่อการทำงาน มีห้องปฏิบัติการ สำหรับการทดลอง รองรับการจัดแสดงผลงาน นำเสนอผลงานของนักศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 8: การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 - 2570 หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต.
กานต์ชนก บุญสุภาพร (2561) (SCB Economic Intelligence Center (EIC) 6 มิถุนายน 2561 หน้าที่ 2 - 4
วัลลภ เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544) การพัฒนาการเรียนการสอนทางการอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2561). นวัตกรรมการเรียนการสอนของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : เทคนิคพริ้นติ้ง.
กิตติพงศ์ ดารักษ์. (2550). วิธีการศึกษาในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
จารุรนต์ บุญลออ. (2018). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการปรับปรุงวิธิการเรียนการสอน กลุ่มวิชาเทคโนโลยีโครงสร้างและงานระบบอาคาร. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรรมศาสตร์ สจล.
ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม. (2555). การวิจัยด้วยวิธีเดลฟาย : การใช้มติสอดคล้องโดยเสียงข้างมาก. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนครสวรรค์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ต้นข้าว ปาณินท์. (2548) Theorizing Practice: Practicing Theory ภาษาทางสถาปัตยกรรม. อาษา.กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2548
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์เสริมศรีไชยศร.
สมศักดิ์ ภิวิภาดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.