กลยุทธ์การปรับตัววิถีใหม่เพื่อความอยู่รอดในการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารไทยในเครือสตีฟ คาเฟ่ แอนด์ ครุยซีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารไทยในเครือสตีฟ คาเฟ่ แอนด์ ครุยซีน 2) ปัจจัยภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารไทยในเครือสตีฟ คาเฟ่ แอนด์ ครุยซีน 3) ศึกษากลยุทธ์การปรับตัววิถีใหม่เพื่อความอยู่รอดในการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารไทยในเครือสตีฟ คาเฟ่ แอนด์ ครุยซีน 4) เปรียบเทียบกลยุทธ์การปรับตัววิถีใหม่เพื่อความอยู่รอดในการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารไทยในเครือสตีฟ คาเฟ่ แอนด์ ครุยซีน จำแนกตามสภาพการดำเนินงาน และ 5) หาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การปรับตัววิถีใหม่เพื่อความอยู่รอดในการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารไทยในเครือสตีฟ คาเฟ่ แอนด์ ครุยซีน กับปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ประชากรคือ เจ้าของธุรกิจ ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงานของร้านอาหาร จำนวน 50 ราย และผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการของร้านอาหารไทยสตีฟ คาเฟ่ แอนด์ ครุยซีน จำนวน 3 สาขา ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สาขาเทเวศร์ สาขาพระราม 6 และสาขาผ่านฟ้า จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ธุรกิจร้านอาหารของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่เทเวศร์ ดำเนินธุรกิจมาแล้วเป็นระยะเวลา 5-10 ปี โดยเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (มากกว่า 20 โต๊ะ) ที่มีพนักงานจำนวนมากกว่า 15 คน ในขณะที่มียอดขายเดือนละ 300,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้อาหารประเภทแกงเป็นอาหารที่ขายดีที่สุดของร้าน และมีกลุ่มลูกค้าหลักของร้านเป็นทั้งคนไทยและคนต่างชาติ 2) ธุรกิจร้านอาหารให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนี้ 2.1) ธุรกิจร้านอาหารให้ความสำคัญต่อปัจจัยภายใน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการตลาด รองลงมาคือ ด้านทำเลที่ตั้ง และน้อยที่สุดคือ ด้านบุคลากร 2.2) ธุรกิจร้านอาหารให้ความสำคัญต่อปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินธุรกิจโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านปัจจัยด้านกฎหมาย รองลงมาคือ ด้านลูกค้า และน้อยที่สุดคือ ด้านคู่แข่ง 3) ธุรกิจร้านอาหารให้ความสำคัญของกลยุทธ์การปรับตัววิถีใหม่เพื่อความอยู่รอดในการดำเนินงาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือ ด้านราคา และน้อยที่สุดคือ ด้านกระบวนการ 4) ธุรกิจร้านอาหารที่มีสภาพการดำเนินงานแตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์การปรับตัววิถีใหม่เพื่อความอยู่รอดในการดำเนินงานของธุรกิจร้านอาหารไทยในเครือสตีฟ คาเฟ่ แอนด์ ครุยซีน แตกต่างกันในทุกด้าน และ 5) ปัจจัยภายในและภายนอกของธุรกิจโดยรวม มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การปรับตัววิถีใหม่เพื่อความอยู่รอดในการดำเนินงานของธุรกิจร้านอาหารไทยในเครือสตีฟ คาเฟ่ แอนด์ ครุยซีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปณิดาภา สวนแก้ว. (2564). ความสำเร็จของนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (1), 47-58.
อัญชลี ดีกระสัง. (2564). [ออนไลน์]. อาหารไทย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/foodthai/,
ร้านอาหารสตีฟ คาเฟ่ แอนด์ ครุยซีน. (2564). [ออนไลน์]. Steve Café & Cuisine. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://web.facebook.com/stevecafeandcuisine/.
ชัญญาพัชญ์ ธนะแสนประเสริฐ์. (2560). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดเพื่อการตัดสินใจซื้อแมคโดนัลด์ภายใต้บริบทของส่วนประสมทางการตลาดของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ปณิศา มีจินดา. (2554). กลยุทธ์การตลาดและการวางแผน. กรุงเทพมหานคร: จรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.
เบญจวรรณ สีดา. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการผลิตเกษตรอินทรีย์ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 17 (76), 307-316.
ธีรภัทร์ เจริญฤทธิ์. (2564). การปรับตัวของผู้ประกอบการในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ตลาดกิม หยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. หลักสูตรสวัสดิการสังคม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). [ออนไลน์]. วิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.popticles.com/, .
กุลดิษฐ์ ชีรนรวนิชย์. (2558). กลยุทธ์การประกอบการและปัจจัยการเลือกใช้บริการร้านอาหารบริเวณชุมชนสวนอ้อย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). [ออนไลน์]. New Normal ชีวิตวิถีใหม่. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/, .
พีรพัฒน์ ใจแก้วมา. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตแบบปรกติใหม่ของประชาชนชาวไทยระหว่างวิกฤตโควิด-19 ที่ปรากฎในสื่อออนไลน์. รายงานวิจัยสาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิตา จิตรลดานนท์. (2560). ผลกระทบของกลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจส่งออกอัญมณีและเครื่อง. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.