แรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทย

Main Article Content

สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ
ไพฑูรย์ มนต์พานทอง

บทคัดย่อ

       การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบแรงจูงใจผลักและแรงจูงใจดึงในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทย ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เคยมีประสบการณ์เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยที่เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ


       ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า องค์ประกอบแรงจูงใจผลักในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ 2) การหลบหลีกจากวิถีชีวิตประจำวัน 3) การสร้างพลังและความบันเทิงให้กับชีวิต 4) การเดินทางท่องเที่ยวในที่ที่บุคคลรอบข้างเคยมาเยือนและการแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยว 5) การเรียนรู้ในสิ่งที่แปลกใหม่หรือแตกต่าง 6) การเติมความฝันและการให้รางวัลในชีวิต และ 7) ความเป็นอิสระและการเปิดมุมมองให้กับชีวิต นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า องค์ประกอบแรงจูงใจดึงในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทย ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แหล่งท่องเที่ยวที่ครบครัน 2) แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและความเชื่อของไทย 3) แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีความหลากหลาย 4) ราคา คุณภาพ และการต้อนรับขับสู้ 5) สถานการณ์เกี่ยวกับโรคระบาดโควิด-19 6) อาหารที่เลื่องชื่อและความสะดวกสบายในการเดินทาง 7) กิจกรรมเสริมความงามและสุขภาพ และ 8) ประสิทธิภาพของนโยบายการจัดการโรคระบาดโควิด-19 และความปลอดภัยของแหล่งท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
เจริญกฤตยาวุฒิ ส., & มนต์พานทอง ไ. (2024). แรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทย. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 36(128), 116. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/3627
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

นักศึกษาปริญญาโท คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ไพฑูรย์ มนต์พานทอง, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

References

Huang, Q. and Lu, Y. (2017). Generational perspective on consumer behavior: China’s potential outbound tourist market. Tourism Management Perspectives. 4, 7-15.

The World Bank. (n.d.). International tourism, number of departures – China. [Retrieved on 1 April 2022]. From https://data.worldbank.org/indicator/ST.INT.DPRT?locations=CN

World Tourism Organization. (2017). [Online]. Penetrating the Chinese outbound tourism market: Successful practices and solutions. [Retrieved on 15 January 2022]. From http://cf.cdn.unwto.org/sites/all/files/pdf/exe_summary_chinese_outbound.pdf

World Tourism Organization. (2019). [Online]. Guidelines for the success in the Chinese outbound tourism market. [Retrieved on 20 January 2022]. From https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284421138

Neilson (2017). [Online]. Outbound Chinese tourism and consumption trends. [Retrieved on 21 January 2022]. From https://www.nielsen.com/content/dam/nielsenglobal/ cn/docs/ Outbound%20Chinese%20Tourism%20and%20Consumption%20Trends.pdf

สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ. (2558). ตัวแบบสมการโครงสร้างความภักดีในแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เลิศพร ภาระสกุล. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dann, G. M. S. (1981). Tourist motivation: An appraisal. Annuals of Tourism Research. 9(2), 187-219.

Hsu, T. K., Tsai, Y. F. and Wu, H. H. (2009). The Preference analysis for tourist choice of destination: A case study of Taiwan. Tourism Management. 30, 288-297.

Iso-Ahola, S. E. (1983). Toward a Social Psychology of Recreational Travel. Leisure Studies. 2, 45-56.

ปุญญิศา คีรีเพชร. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนในการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวในเกาะสมุย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เลิศพร ภาระสกุล. (2555). แรงจูงใจและทัศนคติที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยวประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

Huang, S. (S.), Shao, Y., Zeng, Y., Liu, X. and Li, Z. (2021). Impacts of COVID-19 on Chinese nationals’ tourism preferences. Tourism Management Perspectives. 40: 100895.