การเลือกเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรม ของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

Main Article Content

พรทิพย์ วงคำสอน
ชญาภัทร์ กี่อาริโย

บทคัดย่อ

       การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคลลของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก 2) ศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก 3) ศึกษาการเลือกเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการเลือกเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรมของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก และ 5) เปรียบเทียบระดับความสำคัญต่อการเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรมของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก จำแนกตามปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ประชากรคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 274 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าไคสแควร์ และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว  


       ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีวุฒิการศึกษาเดิมเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ในช่วง 2.01 - 2.50 ซึ่งปัจจุบันนักเรียนกำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวช.3 ในสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ และนักเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก 2) นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก ส่วนใหญ่ครอบครัวมีรายได้รวมเดือนละ 5,001 - 10,000 บาท โดยผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ซึ่งนักเรียนมาจากครอบครัวขนาดกลาง ในขณะที่ผู้ปกครองมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และตัวนักเรียนเองเป็นผู้มีบทบาทในการเลือกเรียน 3) นักเรียนให้ความสำคัญต่อการเลือกเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวัดและการประเมินผล รองลงมาคือ ด้านผู้สอน และน้อยที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก 4) ปัจจัยส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก ยกเว้น ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษาในปัจจุบันของนักเรียน มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก จำแนกตามด้านกิจกรรมพัฒนานักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกันให้ความสำคัญต่อการเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พรทิพย์ วงคำสอน, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

คณะคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). [ออนไลน์]. ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดตั้งอาชีวศึกษจังหวัด. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564].เข้าถึงได้จาก: https://www.vec.go.th/.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). การจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). [ออนไลน์]. ประวัติความเป็นมา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.vec.go.th/.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก. (2564). [ออนไลน์]. ประวัติความเป็นมา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.plvc.ac.th/.

จารุวรรณ เทวกุล. (2561). ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉัตรเพ็ชร ชมใจ. (2561). ปัจจัยในการเลือกเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของนักเรียน โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ). วิทยานิพนธ์. คหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อิทธิพล อเนกธนทรัพย์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียน ประเภทวิชาคหกรรม ในระดับต่ำ กว่าอุดมศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม. วิทยานิพนธ์. คหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

นิยาวาเฮร์ ไพบูลย์ และปฐมา อาแว. (2562). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีปีการศึกษา 2562. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

ธนวรรณ สอ้าง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกเรียนประเภทวิชาคหกรรมศาสตร์ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของผู้วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์. คหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

รณชัย คงกะพันธ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนสายอาชีวศึกษาในจังหวัดภูเก็ตและพังงา. รายงานการวิจัย วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ณัฐสุดา พิพุฒิไกร. (2560). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาคหกรรม ของนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เมธาวี สุขปาน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของนักเรียน กรณีศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พัชรินทร์ เต็งมีศรี และกัญทร ยินเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

อัมพา แก้วจงประสิทธิ์. (2560). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.