ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศ และคุณภาพบริการของระบบออนไลน์ 3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 4) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนที่เลือกเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับชั้นประถมศึกษาที่ 1-3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) จำนวน 150 โดยเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไควสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุไม่เกิน 9 ปี โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ในช่วง 2.51- 3.00 ซึ่งลักษณะรายวิชาที่เรียนเป็นวิชาปฏิบัติ ทั้งนี้นักเรียนใช้บ้านพักของผู้ปกครอง/ญาติ เป็นสถานที่สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ 2) ปัจจัยด้านคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศ และคุณภาพบริการของระบบออนไลน์ โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนเห็นด้วยอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ คุณภาพด้านบริการ รองลงมาคือ ด้านคุณภาพด้านสารสนเทศ และน้อยที่สุดคือ ด้านคุณภาพระบบ 3) พฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักเรียน ส่วนใหญ่มีการใช้งานน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเวลาเข้าเรียนออนไลน์อยู่ในช่วง 12.01 - 15.00 น. ซึ่งใช้ระบบออนไลน์ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน คือ โน๊ตบุ๊ค และมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานเพื่อส่งการบ้าน 4) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียน มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ปัจจัยด้านคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศ และคุณภาพบริการของระบบออนไลน์ มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิการ์ แสนสุภา. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 83-97.
อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1), 1-10.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID)
ปีการศึกษา 2563. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.ccs1.go.th/gis/eoffice/, 27 สิงหาคม 2564.
สำนักงานทะเบียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2563). สถิติจำนวนนักเรียน (ฝ่ายประถมศึกษา). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.ds.ru.ac.th, 18 มีนาคม 2564.
ทิศนา แขมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
วรวุฒิ มั่นสุขผล. (2561). การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการใช้อีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 347-58.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2557). ความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 4(2), 1-17.
พัชรินทร์ อินทมาส. (2559). การศึกษาสภาพการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการศึกษาของนักศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช. 9(2).
ชรินทร์ ตั้งพานทอง. (2560). ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.cuir.car.chula.ac.th, 20 สิงหาคม 2564.