ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความต้องการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจคหกรรมศาสตร์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

สุกัญญา จันทกุล
ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ
สมปรารถนา สุขสละ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาศึกษาความต้องการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจคหกรรมศาสตร์ ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2)เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์กับความต้องการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจคหกรรมศาสตร์ ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สาขาวิชาที่ศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานระหว่างเรียน และปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ เจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ และการจัดการเรียนการสอนของคณะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 180 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา พบว่า ความต้องการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจคหกรรมศาสตร์อยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สาขาวิชาที่ศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานระหว่างเรียนมีความสัมพันธ์กับความต้องการเป็นผู้ประกอบการอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ เจตคติต่อการเป็นผู้ประกอบการ และการจัดการเรียนการสอนของคณะมีความสัมพันธ์กับความต้องการเป็นผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ มีความสัมพันธ์กับความต้องการเป็นผู้ประกอบการอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุกัญญา จันทกุล, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร                   

อาจารย์ หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

                  

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อาจารย์ หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

                  

สมปรารถนา สุขสละ, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อาจารย์ หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

                  

References

ข่าวทำเนียบรัฐบาล. (2559). [ออนไลน์]. การเป็นผู้ประกอบการ Startup. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2560]. จาก http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7268.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2560). [ออนไลน์]. เกี่ยวกับคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561]. จาก http://www.hec.rmutp.ac.th/.

สุรชัย จิวเจริญสกุล. (2549). การจัดการธุรกิจขนาดเล็กทางคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรทิพย์ ม่วงมี. (2554). ปัจจัยทางจิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปริญญานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตรประยุกต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กิตติคุณ มั่นคงดี. (2560). ความต้องการเป็นผู้ประกอบการด้านคหกรรมศาสตร์ของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชพระนคร. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ธนวุฒิ พิมพ์กิ. (2558). การบริหารธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

บุณฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : บริษัทแอคทีฟ พริ้น จำกัด

เปรมวดี เจตนานุศาสน์. (2552). เจตคติต่อการประกอบอาชีพอิสระทางด้านคหกรรมศาสตร์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.