รูปแบบการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในยุคไทยแลนด์ 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการประชาสัมพันธ์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในยุคไทยแลนด์ 4.0 และ 3) เพื่อประเมินผลรูปแบบการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในยุคไทยแลนด์ 4.0 ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วย นักศึกษา บุคลากร ประชาชน สื่อมวลชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้การเปิดตารางจากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับ infinity ใช้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติแบบถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและรูปแบบการประชาสัมพันธ์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก และองค์ประกอบย่อย ดังนี้ ด้านผู้บริหารองค์กร ประกอบด้วย 1) นโยบายองค์กร และ2) ความต้องการรับข้อมูล ด้านองค์กร ประกอบด้วย 1) รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีความทันสมัยเสมอ และ 2) การวางแผนด้านการสื่อสารขององค์กร ด้านกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) การวางแผนด้านการสื่อสารขององค์กร 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3) การออกแบบสารประชาสัมพันธ์ และ 4) งบประมาณขององค์กร ด้านช่องทางประชาสัมพันธ์การประกอบด้วย 1) ข่าวสารในการประชาสัมพันธ์ 2) ช่วงเวลาในการประชาสัมพันธ์ และ 3) ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านเทคโนโลยี และ ด้านข้อมูล ประกอบด้วย (1) การตรวจประเมินความสำเร็จของการประชาสัมพันธ์ 2) ความทันสมัยของเทคโนโลยี และ 3) การวางแผนด้านการสื่อสารขององค์กร ส่วนผลการประเมินรูปแบบการประชาสัมพันธ์ พบว่า ทั้งความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปรับใช้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วรัชญ์ ครุจิต. (2555) คู่มือการประชาสัมพันธ์ ยุคดิจิตอล. (แปลจาก The AMA Handbook of Public
Relations). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาลัยศรีปทุม.
Yamane,T. (1973) Statistics An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร : วี. อินเตอร์ พริ้น.
สุวิมล ติรกานันท์. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 8
กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริชาติ เยพิทักษ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). [ออนไลน์]. การบริหารจัดการข้อมูลขององค์การใน
ภาครัฐ. [สืบค้นวันที่ 12 มกราคม 2562]. จาก https://www.tcithaijo.org/index.php/Veridian-E- Journal/article/view/52709 หน่วยที่ 3). นนทบุรี : หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์ (2558). [ออนไลน์]. ทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [สืบค้นวันที่ 29 เมษายน 2561]. จาก
https://www.tcithaijo.org/index.php/thaijo.org/index.php/tla_research/article/view/47984
สุภาภรณ์ ศรีดี และปรางณี ไชยพิเดช. (2556). การบริหารประชาสัมพันธ์ธุรกิจ. (เอกสารการสอนชุดวิชา
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ หน่วยที่ 10). พิมพ์ครั้งที่ 4 นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ประทีป รักธรรม. (2559). [วารสารออนไลน์]. การบริหารงานประชาสัมพันธ์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ภาคกลางตอนล่าง เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการ. (WMS Journal of Management) 1
(มกราคม – เมษายน 2561):71-82 จาก http://wmsjournal.wu.ac.th
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การประชาสัมพันธ์ : ทฤษฎีและปฏิบัติ กรุงเทพมหานคร : ธีรฟิล์มและไซ
เท็กซ์.
ไพศาล อินทสิงห์. (2561). [ออนไลน์]. บางมุมมองพีอาร์กับผู้บริหารระดับกลาง. [สืบค้นวันที่ 12
มกราคม 2562]. จากhttp://www.bangkok-biznews-.com/blog/detail/644216