การรับรู้การใช้ผลคะแนน The Test of English for International Communication ก่อนเข้าศึกษาและก่อนลงทะเบียนรายวิชาสหกิจศึกษาของนักศึกษาสถาบันการบินพลเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะการรับรู้เรื่องการใช้ผลคะแนน Test of English for International Communication (TOEIC) ก่อนเข้าศึกษาและก่อนลงทะเบียนรายวิชาสหกิจศึกษา 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ 3) การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมตัวสอบวัดระดับความรู้หรือทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน และ 4) เสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษสู่การสอบวัดระดับความรู้หรือทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันให้ประสบผลสำเร็จ โดยศึกษาและเก็บข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 และ 3 ของสถาบันการบินพลเรือน หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต และหลักสูตรหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน จำนวน 378 คน โดยใช้แบบสอบถาม และการสุ่มสัมภาษณ์ตัวอย่างนักศึกษา 68 คนจากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ได้ระดับคะแนน TOEIC ที่ระหว่าง 405-600 คะแนนเทียบเท่ากับระดับ Elementary Proficiency Plus นักศึกษารับรู้ว่าสถาบันการบินพลเรือนได้ประชาสัมพันธ์และแจ้งนักศึกษาอย่างชัดเจนว่าจะมีการใช้ผลคะแนนดังกล่าวเพื่อพิจารณาก่อนเข้าศึกษาและก่อนลงทะเบียนรายวิชาสหกิจศึกษา และมีความคิดเห็นว่าการสอบ TOEIC เป็นการสอบที่เชื่อถือได้ และมีประโยชน์ ครอบครัวมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเตรียมตัวสอบ และ นักศึกษาตระหนักถึงการใช้ผลคะแนน TOEIC เพื่อการสมัครงานในอนาคต นักศึกษาส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็น ผู้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองที่ดี มีการตั้งเป้าหมายของตนในการสอบนักศึกษามีลักษณะเป็นผู้มีความสามารถในการควบคุมการเรียนรู้ของตนเองได้ (Autonomous Learner) มีความเชื่อว่าตนเองจะได้รับคะแนนที่สูงขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน เพราะมีแรงจูงใจในการเรียนสูง นักศึกษาส่วนใหญ่พอใจที่จะค้นหาสื่อการเรียนที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมตัวสอบด้วยตนเอง รู้จุดด้อยของตนเอง อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงเรียนรู้ในสิ่งที่ตนบกพร่องได้ แต่นักศึกษาจะมีความมั่นใจมากขึ้นหากอาจารย์ให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเตรียมตัวสอบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สถาบันการบินพลเรือน. (2561). คู่มือนักศึกษา สถาบันการบินพลเรือน หลักสูตรปริญญาตรี ปีการศึกษา 2561.สถาบันการบินพลเรือน.
Al-Asmari, A. R. (2013). Practices and Prospects of Learner Autonomy: Teachers’ Perceptions. English Language Teaching Journal. http://dx.doi.org/10.5539/elt.v6n3p1
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of
Psychology, 140, 1–55.
สุมิตราอังวัฒนกุล. (2535). การวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชา จันทร์หอม. (2541). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิชย์.
พรสิรินทร์ หาเรือนทรง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา. มหาวิทยาลัยราชภัฎ
สวนสุนันทา.
บุษยา วงศ์ชวลิตกุล. (2558). ความคาดหวังความสามารถหลักในการทำงานของนิสิต นักศึกษาสหกิจศึกษาในทรรศนะของผู้ประกอบการ. ทุนสนับสนุนจากเครือข่ายสหกิจศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่าง สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.