การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนข้ามศาสตร์แบบบูรณาการสมรรถนะ ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในพื้นที่ภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนข้ามศาสตร์แบบบูรณาการสมรรถนะ ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1).เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนข้ามศาสตร์แบบบูรณาการสมรรถนะ ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม 2).เพื่อประเมินคุณภาพของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมการเรียนการสอนข้ามศาสตร์แบบบูรณาการสมรรถนะ ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับวิชาช่างอุตสาหกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรอบรม ชุดทดลอง แบบประเมินค่าความสอดคล้องของเนื้อหากับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม และแบบประเมินความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีค่าความสอดคล้อง IOC
ผลการวิจัยพบว่า 1). ภาพแบบการจัดการเรียนการสอนข้ามศาสตร์แบบบูรณาการสมรรถนะ ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะมีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คะแนนค่าเฉลี่ย 0.90 เนื้อหามีความสอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 2). แบบประเมินความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมการเรียนการสอนข้ามศาสตร์แบบบูรณาการสมรรถนะด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม ด้านเนื้อหาการอบรมอยู่ในระดับมาก ด้านระยะเวลาการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก และด้านเทคนิคการออกแบบชุดทดลองอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
อาชีวะไทยปรับทัพ เตรียมคนทันยุค 4.0. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564]. จาก https://www.thairath.co.th/business/market/1340666.
มนตรา พงษ์นิล. การบูรณาการการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา : องค์ความรู้และการพัฒนานวัตกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1. 1-14.
พิจิตรา ธงพานิช. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564].
จาก https://piromyanaja.blogspot.com/2018/02/blog-post_15.html.
ทิศนา แขมมณี. (2553). [ออนไลน์]. ศาสตร์การสอนองคือความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564]. จาก https://piromyanaja.blogspot.com/2018/02/blog-post_90.html.
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. (2539). [ออนไลน์]. เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ:คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564]. จาก https://thanetsupong.wordpress.com.
นิภา เพิ่มไพบูลย์. (2563). [ออนไลน์]. ประเภทของนวัตกรรม จำแนกตามลักษณะ.[สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564]. จาก https://sites.google.com/site/nipasite/4.
อธิพงศ์ ฤทธิชัย. (2563). [ออนไลน์]. แนวคิดเรื่องสมรรถนะ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564]. จาก https://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2213.
เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี. (2553). [ออนไลน์]. การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการย้อมเส้นไหมสีธรรมชาติ กลุ่มทอผ้าสีธรรมชาติ ตำบลบ้านหัน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564]. จาก http://thesis.swu.ac.th.
ฤทัย ประทุมทอง. (2563). [ออนไลน์]. การพัฒนาภาพแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือภาพแบบ STAD ร่วมกับกระบวนการสอนแบบ MIAP รายวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2564] จาก https://www.chonburi.spu.ac.th.
เมธีศิน สมอุ่มจารย์ วิทยา จันทร์ศิลา สำราญ มีแจ้งและปัญญา สังขวดี. ภาพแบบการพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 15 ฉบับพิเศษ. 169-181.