การปรับปรุงการแปรรูปอาหารทะเลในวิสาหกิจขนาดเล็ก: กรณีศึกษาการผลิตน้ำปลาผสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมอาหารทะเลเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสร้างรายได้สูง รัฐบาลจึงมีนโยบายผลักดันอุตสาหกรรมอาหารไทยให้เป็นศูนย์กลางอาหาร Food Hub หรือครัวไทยสู่ครัวโลก ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทะเลไทยตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในการเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ของไทย ตลาดน้ำปลาได้รับผลกระทบจากการแข่งขันของผงปรุงรสที่สามารถทดแทนเครื่องปรุงได้อย่างสะดวกและมีรสชาติดี แนวโน้มดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดเล็ก งานวิจัยนี้จึงให้ความสนใจในการศึกษากระบวนการผลิตน้ำปลาผสมซึ่งราคาต่ำ ตลาดขนาดใหญ่ การแข่งขันสูง แต่มีต้นทุนพลังงานค่อนข้างสูง โดยเพิ่มผลิตภาพการผลิตในขั้นตอนการต้มด้วยต้นทุนพลังงานที่ต่ำลง ผลการปรับปรุงพบว่าค่าใช้จ่ายพลังงานต่อการผลิตน้ำปลาผสม 1 รอบ ลดลงจาก 1,210.65 บาท เหลือเพียง 536 บาท หรือประมาณ 0.55 บาท/ลิตร เป็น 0.24 บาท/ลิตร ซึ่งคิดเป็นการเพิ่มผลิตภาพต่อหน่วยพลังงานได้ประมาณ 56.36%
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชัยวัช โซวเจริญสุข. (2562). [ออนไลน์]. อุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564]. จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/e7f3ad57-d0bb-49a4-a708-926d26857dfc/IO_Seafood_190725_TH_EX.aspx.
Food and Ariculture Organization of the United Nations. (2021). [Online]. 2050: A third more mouths to feed. [Cited April 21th 2021]. from http://www.fao.org/news/story/en/item/35571/icode/
ปณิดาภา สวนแก้ว. (2557). ความสำเร็จของนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน. วารสารวิจัย มสด. 10 (1) 47-57.
บริษัท แบรนด์เอจ มาร์เก็ตติ้ง รีซอร์สเซส จำกัด. (2551). [ออนไลน์]. กรณีศึกษาตลาดน้ำปลา 10,000 ล้าน ไม่ใช่มีแค่ความ “เค็ม” แต่ยังมีสงครามราคาในตลาดนี้. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563]. จาก https://www.brandage.com/article/8911/Commodity-Product.
D. Correia, F.J.G.Silva, R.M.Gouveia, T. Pereira, L.P. Ferreira. (2018). Improving manual assembly lines devoted to complex electronic devices by applying Lean tools. Procedia Manufacturing. 17. pp. 663–671.
W. Cai, K. H. Lai, C. Liu, F. Wei, M. Ma, S. Jia, Z. Jiang, L. Lv. (2019). Promoting sustainability of manufacturing industry through the lean energy-saving and emission-reduction strategy. Science of The Total Environment. 15. pp. 23–32.
A. Pereira, M. F. Abreu, D. Silva, A. C. Alves, J. A. Oliveira, I. Lopes, M. C. Figueiredo. (2016). Reconfigurable Standardized Work in a Lean Company – A Case Study. 52. pp. 239–244.