การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเครื่องหอมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของสื่อการสอนมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเครื่องหอมไทย 2) ประเมินประสิทธิภาพสื่อการสอนมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเครื่องหอมไทย และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการสอนมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเครื่องหอมไทย ประชากรคือ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนวัดห้วยโรง (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลสงเคราะห์ 160) จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อการสอนมัลติมีเดีย แบบทดสอบภาคปฏิบัติ แบบประเมินประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อการสอนมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเครื่องหอมไทย ในภาพรวมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.19/85.19 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่าสื่อมัลติมีเดียที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี 2) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อสื่อการสอนมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเครื่องหอมไทย มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเครื่องหอมไทย อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วริสรา กุศล. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการอบรมเกี่ยวกับการบริการอาหารปลอดภัย.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการและบริการอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ณรงค์ สมพงษ์. (2555). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาและอาชีพเกษตรในท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 27(1), มกราคม-เมษายน: 97-110.
ณัฐพงษ์ พระลับรักษา. (2559). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริการศึกษา โรงเรียนวัดห้วยโรง (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลสงเคราะห์ 160). 2564. [ออนไลน์]. สถิติจำนวนนักเรียน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564]. จาก https://data.bopp-obec.info/.
ลัดดา อินจุ้ย. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง เมืองพบพระโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
ทิพภาภรณ์ ทนงค์. (2562). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการเย็บตะเข็บผ้าพื้นฐานวิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วาทิตย์ สมุทรศรี. (2562). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารชุมชนวิจัย. 12, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 229-242.
มุกดา อามาตย์. (2562). การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดียวิชาพื้นฐานงานประดิษฐ์เรื่องดอกไม้ประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนสาขาคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
กังสดาล ดีพัฒน์. (2558). การสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการอ่าน เรื่องมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 3 ของโรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.
ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา (2556). การจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศ์พิสุทธิ์ นุวัติดีวงศ์. (2560). การสร้างสื่อวีดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การประดิษฐ์บายศรีปากชาม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรคหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2554). การตลาดบริการ. ส.เอเชียเพรส: กรุงเทพมหานคร.
ซาร่าห์ หะยีแวฮามะ. (2561).การสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยใช้เทคนิคการสอนแบบโฟนิกส์เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่าน ในรายวิชาภาษาไทยเรื่องการแจกลูกสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 โรงเรียนเตรียมศึกษาวิทยา จังหวัดปัตตานี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 1, 1 (มกราคม-มิถุนายน): 46-64.
ไพศาล สุขสำราญ. (2554). ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นสาขาเครื่องประดับอัญมณี วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี ที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
ธนกฤต สุทธินันโชติ. (2559). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พรพิมล คงฉิม (2554). การศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้าที่ได้รับบริการจากบริษัท เอ็ม.เอช.อี- ดีแมก (ที) จำกัด. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.