ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ในเขตพื้นเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสายอาชีวศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการศึกษาต่อหลังจบการศึกษา ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งข้อมูลด้านสัญญาณความต้องการแรงงานที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนต่อสายอาชีวศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่กำลังจะจบการศึกษาในปีการศึกษา พ.ศ. 2564 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,110 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม โดยนำข้อมูลทั่วไปและการเลือกศึกษาต่อมาวิเคราะห์ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์แบบทวิ (Binary Logistic Regression) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษา
ผลจากการสำรวจพบว่านักเรียนส่วนใหญ่เลือกศึกษาต่อในระดับมัธยมปลายหรือสายสามัญร้อยละ 70 และเลือกศึกษาต่อสายอาชีวศึกษาร้อยละ 29 และร้อยละ 1 ที่ยังไม่ศึกษาต่อ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ได้แก่ เพศ ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (GPA) รายได้รวมเฉลี่ยต่อเดือนของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง การรับรู้ความต้องการแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โอกาสในการทำงานหลังจบการศึกษาและโครงการอาชีวพันธ์ใหม่/โครงการทวิภาคี ซึ่งมีค่าความถูกต้องร้อยละ 93.60 โดยผลการวิจัยที่ได้สามารถทำเป็นแนวทางการส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญของเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยีรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. กรุงเทพมหานคร
กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2561). ความต้องการแรงงานใน เขตระเบียงเศรฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงแรงงาน
สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). ความต้องการแรงงานไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.2561-2570). กรุงเทพมหานคร : สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ ตลาดแรงงานของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงแรงงาน
Keenan A. Pituch and James P. Stevens. (2016). Applied Multivariate Statistics for The Social Sciences Analyses with SAS IBM ‘s SPSS. New York: Routledge
อรทัย เจริญสิทธ์. (2560) การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารีสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2. 1-9.
กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนต่อสายสามัญและสายอาชีวศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงแรงงาน