การปรับกลยุทธ์ของสายการบินในช่วงวิกฤตของโรค COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งศึกษาเรื่องการปรับกลยุทธ์ของธุรกิจสายการบินในช่วงวิกฤตของโรค COVID- 19 เพื่อเป็นข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับกลยุทธ์ขององค์กรในช่วงวิกฤตดังกล่าว พร้อมทั้งการบริหารการ ทำงานและการจัดการภายในองค์กร เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ของโรค COVID-19 ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีแนวทางในการรกักษาให้หายจากโรค COVID-19 ทั้งนี้ผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวส่งผลรุนแรงต่อธุรกิจ
สายการบินเป็นอย่างมาก ได้แก่ การระงับเที่ยวบินที่ไม่จำเป็น การจำกัดเส้นทางการบิน จนถึงการหยุดบินตาม มาตรการขององค์การอนามัยโลกเพื่อป้องกันการระบาด ดังนั้นสายการบินจึงปรับตัวให้ทันอย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด เพื่อให้องค์กรนั้นสามารถอยู่รอดได้
จากการศึกษาพบว่า การปรับกลยุทธ์ของธุรกิจสายการบินนั้น ช่วยให้สายการบินสามารถดำเนินธุรกิจ ต่อไปได้ในสภาวะวิกฤตนี้ ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดบางประการที่กำหนดขึ้นมา และไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติการ เดินอากาศ ได้แก่ การลดจำนวนวันทำงานลง การบริหารจัดการตารางเที่ยวบินใหม่กับจำนวนผู้โดยสาร การยกเลิก เที่ยวบิน การกำหนดจำนวนขั้นต่ำของผู้โดยสารก่อนการกำหนดเที่ยวบิน การปรับลดอัตราค่าจ้าง และท้ายสุดคือ การลดจำนวนของพนักงาน ทั้งนี้ทางองค์กรจะเลือกเป็นวิธีสุดท้ายในการลดพนักงาน เพื่อลดอัตราการว่างงานและ ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นอุตสาหกรรมการบินเป็นตัวแปรที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศทั่วโลก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Gostin, L. O. (2020). COVID-19 reveals urgent need to strengthen the World Health Organization. Jama, 323(23), 2361-2362.
Al-Rashdan, A., & others (2020). Adapting radiation therapy treatments for patients with breast cancer during the COVID-19 pandemic: hypo-fractionation and accelerated partial breast irradiation to address World Health Organization recommendations. Advances in Radiation Oncology.
Gettelman, A., Chen, C. C., & Bardeen, C. G. (2021). The Climate Impact of COVID19 Induced Contrail Changes. Atmospheric Chemistry and Physics Discussions, 1-17
Suau-Sanchez, P., Voltes-Dorta, A., & Cugueró-Escofet, N. (2020). An early assessment of the impact of COVID-19 on air transport: Just another crisis or the end of aviation as we know it?. Journal of Transport Geography.
Lohmann, G., & Koo, T. T. (2013). The airline business model spectrum. Journal of Air Transport Management, 31, 7-9.
Berazaluce Ribera, R. (2020). Overview on sustainable aviation technologies and guidelines for its application (Bachelor's thesis, Universitat Politècnica de Catalunya).
Adiga, A., & others. (2020). Evaluating the impact of international airline suspensions on the early global spread of COVID-19.
Tanrıverdi, G., Bakır, M., & Merkert, R. (2020). What can we learn from the JATM literature for the future of aviation post Covid-19?-A bibliometric and visualization analysis. Journal of air transport management, 89,
Sobieralski, J. B. (2020). COVID-19 and airline employment: Insights from historical uncertainty shocks to the industry. Transportation Research Interdisciplinary Perspectives, 5.
Amankwah-Amoah, J. (2020). Stepping up and stepping out of COVID-19: New challenges for environmental sustainability policies in the global airline industry. Journal of Cleaner Production, 271.
Belhadi, A., & others. (2021). Manufacturing and service supply chain resilience to the COVID-19 outbreak: Lessons learned from the automobile and airline industries. Technological Forecasting and Social Change, 163.
Maneenop, S., & Kotcharin, S. (2020). The impacts of COVID-19 on the global airline industry: An event study approach. Journal of air transport management, 89.
Pongpirul, K., Kaewpoungngam, K., Chotirosniramit, K., & Theprugsa, S. (2020). Commercial airline protocol during COVID-19 pandemic: An experience of Thai Airways International. Plos one, 15(8).
Amankwah-Amoah, J., Khan, Z., & Osabutey, E. L. (2021). COVID-19 and business renewal: Lessons and insights from the global airline industry. International Business Review, 30(3).