แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดอาหารกลางวัน ของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุมิตา สุขหอม
ชญาภัทร์ กี่อาริโย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดอาหารกลางวันของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาการดำเนินงานในการจัดอาหารกลางวันของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลางจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาประสิทธิภาพในการจัดอาหารกลางวันของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดอาหารกลางวันของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครอง และ 5) นำเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดอาหารกลางวันของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครอง และผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการจัดอาหารกลางวัน จำนวน 215 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 164 แบ่งเป็น ผู้ปกครอง จำนวน 140 คน และผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการจัดอาหารกลางวัน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุประมาณ 31 - 40 ปี มีสถานภาพสมรส โดยมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ทั้งนี้มีอาชีพรับจ้างทั่วไป และมีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท มากที่สุด 2) การดำเนินงานในการจัดอาหารกลางวันของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลางจังหวัดกรุงเทพมหานคร พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านวัตถุดิบ รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการ และน้อยที่สุดคือ ด้านบุคลากร 3) ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการจัดอาหารกลางวัน โดยรวม อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านปริมาณของอาหารกลางวัน ด้านประเภทของอาหารกลางวัน ด้านคุณภาพของอาหารกลางวัน ด้านสุขอนามัยของผู้ประกอบอาหารกลางวัน และรายการอาหารกลางวันที่นิยม 4) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจัดอาหารกลางวันของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครองที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการจัดอาหารกลางวันของศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ  5) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดอาหารกลางวัน พบดังนี้ ควรมีการจัดเตรียมวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่มีคุณภาพ มีรายการอาหาร และรูปแบบอาหารให้เลือกหลากหลาย ทั้งนี้ต้องมีรสชาติที่อร่อยถูกหลักโภชนาการ นอกจากนี้ควรจัดหาวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ ถูกหลักอนามัย รวมทั้งควรสรรหาผู้ประกอบอาหารที่จบทางด้านโภชนาการโดยตรง และจัดอบรมเพื่อให้มีความรู้และเกิดทักษะการประกอบอาหารที่สะอาด ปราศจากโรค และมีคุณค่าครบถ้วน และควรจัดหารายการอาหารที่หลากหลาย แปลกใหม่เสมอๆ เช่น ทอด นึ่ง ต้ม ย่าง  สลับปรับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดเวลา เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกรับประทานได้ อันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง มีกำลังเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมต่าง ๆได้  และสามารถใช้ประโยชน์จากอาหารได้อย่างเต็มที่

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุมิตา สุขหอม, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร

นักศึกษา หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร 

 

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อาจารย์ หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

 

References

ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. (2563). [ออนไลน์]. ข้อมูลสถานศึกษา. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : http://www.csec.ac.th/csec/.

กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการ

ดำเนินงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สกสค.ลาดพร้าว.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

งานวิชาการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. (2563). [ออนไลน์]. สถิติจำนวนนักเรียน. [ สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.csec.ac.th/csec/.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2563). [ออนไลน์]. คู่มือประชาชน ฉบับบริโภค. [สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก : https://www.fda.moph.go.th/.

จินดาหรา พวงมาลา. (2562). แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนบ้านบางแก้ว. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 12 (4). 824 - 837.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์. (2562). [ออนไลน์]. พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น. [สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ricd.go.th/smartteen/.

อโนมา ทองสืบสาย. (2558). ความคิดเห็นต่อการจัดการบริการอาหารกลางวันของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. สารนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.