ผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อกมวลเบาผสมเศษเซรามิกเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับการก่อสร้างอาคารเขียว

Main Article Content

อดิศร จรัลวรกูลวงศ์
ผกามาศ ชูสิทธิ์
นิลมิต นิลาศ
ภูวกฤต วิกรานตานนท์
สุรินทร์ ทวีอักษรพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการผลิต อัตราส่วนที่เหมาะสม สมบัติทางกายภาพ สมบัติทางกล ความเป็นฉนวนป้องกันความร้อน ประสิทธิภาพการนำความร้อน และการใช้งานจริงของคอนกรีตบล็อกผสมผงเซรามิกเหลือทิ้ง อัตราส่วนของคอนกรีตบล็อกผสมผงเซรามิกเหลือทิ้ง ประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1: หินฝุ่น: เถ้ากะลามะพร้าวเท่ากับ 1: 6.8: 0.2, 1: 6.7: 0.3, 1: 6.6: 0.4, 1: 6.5: 0.5 และ 1: 6.4: 0.6  โดยน้ำหนักอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 0.6 โดยน้ำหนัก ขึ้นรูปตัวอย่างคอนกรีตบล็อกด้วยขั้นตอนการผลิตเช่นเดียวกับคอนกรีตบล็อกทั่วไป ทดสอบสมบัติตามมาตรฐาน มอก.58


    จากผลการทดสอบ พบว่า อัตราส่วนของผงเซรามิกเหลือทิ้งที่ดีที่สุดสำหรับผสมลงในคอนกรีตบล็อก คือ อัตราส่วน 1: 6.7: 0.3 ซึ่งปริมาณผงเซรามิกเหลือทิ้งที่เหมาะสม สามารถลดความหนาแน่นหรือน้ำหนักต่อก้อนให้ต่ำลงได้ รวมทั้งช่วยเพิ่มความเป็นฉนวนป้องกันความ เมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตบล็อกทั่วไป อย่างไรก็ตาม การผสมปริมาณผงเซรามิกเหลือทิ้งที่มากเกินไป มีผลทำให้สมบัติทางกลต่ำกว่าที่มาตรฐาน มอก.58 กำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อดิศร จรัลวรกูลวงศ์, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผกามาศ ชูสิทธิ์, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

    

   

นิลมิต นิลาศ, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

    

ภูวกฤต วิกรานตานนท์, บริษัท อาซาฮี-ไทย อัลลอย จำกัด

บริษัท อาซาฮี-ไทย อัลลอย จำกัด

    

 

สุรินทร์ ทวีอักษรพันธ์, บริษัท อาซาฮี-ไทย อัลลอย จำกัด

บริษัท อาซาฮี-ไทย อัลลอย จำกัด

    

References

พันธุดา พุฒิไพโรจน์. (2557). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียว ตามเกณฑ์มาตรฐาน LEED ณ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันที่ 29 เมษายน 2557. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพล เขตกระโทก. (2556). แนวทางการปรับปรุงอาคารตามมาตรฐานอาคารเขียว: กรณีศึกษา อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัญฑิต สาขาวิศวกรรมการจัดการพลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กัญญ์วรา นาคดิลก. (2554). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินสมรรถนะอาคารเขียวในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีอาคาร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2555). คู่มือ Lean Management for Environment สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิก. มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.

สถาบันวิจัยวิจัยสังคม. (2545). โครงการจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมรายสาขา (สาขาเซรามิกและแก้ว). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), (2533). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.58-2533 เรื่องคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

ชัย จาตุรพิทักษ์กุล และวีรชาติ ตั้งจิรภัทร. (2555). การใช้ประโยชน์จากเถ้าและวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเป็นวัสดุในงานคอนกรีต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ชัชวาลย์ เศรษฐบุตร. (2552). ปูนซีเมนต์และการประยุกต์ใช้งาน. กรุงเทพมหานคร:.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด.

ปริญญา จินดาประเสริฐ และชัย จาตุรพิทักษ์กุล. (2555). ปูนซีเมนต์ ปอซโซลาน และคอนกรีต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย.

ดนุพล ตันนโยภาส. (2553). แร่และหิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนัญชัย ปคุณวรกิจ พันธุดา พุฒิไพโรจน์วรธรรม อุ่นจิตติชัยและพรรณจิรา ทิศาวิภาต. (2549). ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของฉนวนอาคารจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง 3(4): (119-126).

ปราโมทย์ วีรานุกูล และกิตติพงษ์ สุวีโร. (2557). การใช้น้ำยางธรรมชาติพัฒนาคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกผสมปาล์มน้ำมัน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 6 “เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่อาเซียน”. ระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2557 พระนครศรีอยุธยา : ณ วิทยาเขตหันตรา อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

American Society for Testing and Materials (ASTM). (2014). Annual book of ASTM standards. ASTM. Philadelphia.