การลดต้นทุนในการติดตั้งโครงหลังคาประเภทโครงถัก

Main Article Content

วีรยุทธ วงษ์ดี
วีระกาจ ดอกจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการติดตั้งโครงหลังคาประเภทโครงถัก และ 2) เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการประยุกต์แนวทางของลีน ในการดำเนินงานของทฤษฎี MUDA และ 7 WASTE คือ การผลิตมากเกินไป (Overproduction) การรอคอย (Waiting) การเคลื่อนย้ายที่ไม่จำเป็น (Transporting) การทำงานที่ไม่เกิดประโยชน์ (Inappropriate Processing) การเก็บสินค้าที่มากเกินไป (Unnecessary Inventory) การเคลื่อนที่เคลื่อนย้ายที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Motions) และของเสีย (Defect) เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด จากนั้นเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการแก้ไขปรับปรุง


ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังจากศึกษาวิเคราะห์ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานสามารถลดต้นทุนในการติดตั้งโครงถักหลังคาต่อพื้นที่ (หน่วย : บาทต่อตารางเมตร) ในส่วนของโครงการที่ 1 มีต้นทุนในการติดตั้งโครงถักหลังคาที่ 194.43 บาทต่อตารางเมตร และโครงการที่ 2 มีต้นทุนในการติดตั้งโครงถักหลังคาที่ 89.91 บาทต่อตารางเมตร สามารถลดต้นทุนลงได้ 104.52 บาทต่อตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 53.76 หรือคิดเป็นต้นทุนที่ลดลงจากโครงการที่ 1 74,780 บาท คิดเป็นร้อยละ 30.3 และ 2) ใช้เวลาในการติดตั้งลดลง 795 นาที หรือ 1.66 วัน คิดเป็นร้อยละ 25.4 ทำให้สามารถทำงานได้สำเร็จภายใน 4.86 วัน แล้วเสร็จตรงตามแผนที่วางไว้ คือ 5 วัน โดยไม่ต้องทำงานล่วงเวลาซึ่งสามารถลดต้นทุนลงได้จริง เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของพื้นที่ โครงการที่ 2 มีพื้นที่มากกว่าถึง 643.91 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 33.66 และยังมีน้ำหนักของโครงเหล็กที่มากกว่าถึง 13 ตัน คิดเป็นร้อยละ 34.21 ถึงแม้จะใช้การยกประกอบบริเวณพื้นอาคาร 72 ครั้ง แต่สามารถลดความสูญเปล่า สามารถลดเวลาในการติดตั้งโครงถักหลังคาได้จริง สิ่งที่ได้ทำให้ได้ประสิทธิภาพและผลิตผลภายในหน่วยงานดีขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลาที่เร็วขึ้น การตรวจสอบชิ้นงานก่อนติดตั้งได้อย่างมีคุณภาพ การเก็บรายละเอียด การแก้ไขชิ้นงานสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงในการทำงานบนที่สูงได้อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วีรยุทธ วงษ์ดี, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม   

นักศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม   

 

วีระกาจ ดอกจันทร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม  

อาจารย์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม  

References

สุปรีย์ ศรสำราญ และ กณิศ อ่ำสกุล. (2562). บทความศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ: อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยปี. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์.

นิรัติศัย ทุมวงษา. (2560). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2560-2562: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิจัยกรุงศรี.

ตลับลักขณ์ ธนดิษฐ์สุวรรณ, รชฏ เลียงจันทร์ และ อาภากร นพรัตยาภรณ์. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2562-2564: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิจัยกรุงศรี.

Engineering control. (2563). ข้อมูลแสดงการคาดการณ์ต้นทุนของงานติดตั้งโครงถักหลังคา. หน้า 3. ในรายงานข้อมูลของงานติดตั้งโครงถักหลังคา 2563, จาก THAI TAKENAKA INTERNATIONAL.LTD.

Engineering control. (2563). ข้อมูลแสดงต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของงานติดตั้งโครงถักหลังคา. หน้า 5. ในรายงานข้อมูลของงานติดตั้งโครงถักหลังคา 2563, จาก THAI TAKENAKA INTERNATIONAL.LTD.

Cotco Metal Works Limited. (2563). [ออนไลน์]. โครงถักในงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก. [สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563]. จาก https://www.wazzadu.com/article/4230/.

บุษกร สุขโรดม. (2562). [ออนไลน์]. การผลิตแบบลีน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563]. จาก

https://bananatraining.com/ การผลิตแบบลีน/.

ไมตรี บุญขันธ์. (2561). [ออนไลน์]. การลดต้นทุนและกำจัดความสูญเปล่าด้วยหลัก 3 MU. [สืบค้นเมื่อ

วันที่ 11 มกราคม 2563]. จาก https://www.challengeto.com/17096604/.

Pro Ind Solutions. (2560). [ออนไลน์]. ระบบลีน (LEAN) กำจัด 7 waste ในการผลิตเพื่อลดต้นทุน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563]. จาก https://www.proindsolutions.com/17406281/.

ศุภพัฒน์ ปิงตา. (2557). [ออนไลน์]. เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด. [สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563].

จาก http://www.mut.ac.th/research-detail-25/