ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้สูงอายุในการบริโภคอาหารประเภทสุกี้ ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้สูงอายุในการบริโภคอาหารประเภทสุกี้ ในกรุงเทพมหานคร 2) พฤติกรรมของผู้สูงอายุในการบริโภคอาหารประเภทสุกี้ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุในการบริโภคอาหารประเภทสุกี้ ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และบริโภคอาหารประเภทสุกี้ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติไคส์แควร์
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการบริโภคอาหารประเภทสุกี้ของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวม มีความคิดเห็นในระดับมาก จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านพนักงาน ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ตามลำดับ ยกเว้นด้านการส่งเสริมการตลาดที่มีความคิดเห็นในระดับปานกลาง 2) พฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทสุกี้ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ชนิดของวัตถุดิบที่ใส่ ได้แก่ ผักสด เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อาหารประเภทเส้นและแป้ง ไข่ และเห็ด ตามลำดับ ส่วนใหญ่บริโภคที่ร้าน เหตุผลในการบริโภคคือ รสชาติอาหาร คุณภาพของอาหารสดใหม่ มีเมนูที่หลากหลาย และราคาเหมาะสมกับปริมาณและคุณภาพ การบริโภคต่อเดือนน้อยกว่า 1 ครั้ง รองลงมาคือเดือนละ 1 ครั้ง ค่าใช้จ่ายในการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อครั้งต่อคน คือ 201-300 บาท ส่วนใหญ่บริโภควันเสาร์และวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 13.01-16.00 น. รับประทานครั้งละ 4 คนขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในครอบครัว และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านพนักงาน ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภท สุกี้ ได้แก่ ด้านเหตุผลที่บริโภค ด้านจำนวนครั้งที่บริโภคต่อเดือน ด้านค่าใช้จ่ายในการบริโภคโดยเฉลี่ยต่อครั้งต่อคน และด้านช่วงเวลาที่บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 420 ชั่วโมง. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). กินตามวัยให้พอดี. กรุงเทพมหานคร : กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ. (2559). องค์ความรู้ สำหรับทุกช่วงวัย ด้านอาหารและโภชนาการ. กรุงเทพมหานคร : ฝ่ายเลขานุการคณะกรมการอาหารแห่งชาติ.
ศจีรัตน์ ควรประดิษฐ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุที่มีอายุยืน ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาโท. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี. ศรีวนาลัยวิจัย. 7 (2), 90-103.
อัญธิกา แก้วศิริ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สหัทนา ชัยรี. (2560). พฤติกรรมการเลือกซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ปาณิศรา สิริเอกศาสตร์. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ปลาเส้นของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระปริญญาโท. คณะวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พิมณัฐชญา สุขกาย. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการร้าน NOM WOW สาขารังสิต อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3. 401-408.
ณัฐกฤตา นันทะสิน. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและความภักดีต่ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาวิชาการจัดการบริการ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
นันที สุรินทร์แปง. (2557). แนวทางการตลาดธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพในเขตเทศบาลนครเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. สำนักวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
มยุรี ซื่อเลื่อม. (2558). ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารเอ็ม เค สุกี้ ที่ เซ็นทรัลเวสตเกต. สารนิพนธ์ปริญญาโท. สาขาบริหารธุรกิจ. คณะการจัดการทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยสยาม.
ศิวกร ตลับนาค. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น ประเภทชาบู ในอำเภอ
พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.