ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิม ของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณิชากร วงศ์สุนพรัตน์
ชญาภัทร์ กี่อาริโย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ใช้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี 3) ศึกษาการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี 4) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมในจังหวัดชลบุรี และ 5) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี ที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิม จำนวน 400 คน และผู้ประกอบการที่จำหน่ายขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิม จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุประมาณ 31 - 40 ปี โดยประกอบธุรกิจส่วนตัวที่มีรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 20,001 – 30,000 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชลบุรี คิดเป็นร้อยละ 74.00 2) ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านบุคคล ด้านการบริการ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านผลิตภัณฑ์                  3) การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคมีวัตถุประสงค์ในการเลือกซื้อเพื่อเป็นของฝาก/ของขวัญ หรือของที่ระลึกแก่บุคคลอื่น โดยส่วนใหญ่เลือกซื้อไส้ผสมระหว่างถั่วทองกวนและฟักเชื่อมเดือนละ 1 ครั้ง ๆ ละ 3 - 4 อัน ประมาณครั้งละ 201 – 500 บาท และผู้บริโภคซื้อด้วยตัวเองมากที่สุด 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี 4.1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี พบว่า เพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนภูมิลำเนาของผู้บริโภคไม่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านทำเลที่ตั้ง และด้านบริการ มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 6) แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมในจังหวัดชลบุรี พบว่า ผู้ประกอบการควรประยุกต์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมให้เข้ากับขนมต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ควรพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิม ให้มีความทันสมัยและมีการสื่อถึงความเป็นไทย โดยควรกำหนดราคาให้มีความหลากหลายตามประเภท ของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งควรพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ และการตกแต่งหน้าร้านให้มีความเป็นจีนเพื่อบ่งบอกถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ควรมีการโฆษณาผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมทั้งควรมีการฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถตอบคำถามลูกค้า และแนะนำสินค้าได้ อีกทั้งร้านต้องตั้งอยู่ในทำเลที่มีการคมนาคมสะดวก และควรเน้นย้ำในเรื่องคุณภาพการให้บริการและการสร้างความประทับใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณิชากร วงศ์สุนพรัตน์, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร

นักศึกษา หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร

 อาจารย์ หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร

References

สำนักพิมพ์แม่บ้าน. (2559). [ออนไลน์]. เรื่องเล่าของ ขนมเปี๊ยะ. [สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.maeban.co.th.

ประสิทธิ์ เงินชัย. (2558). ประเพณีจีนในภาคตะวันออก. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย. 7 (1), 101-114.

ร้านตั้งเม่งกี่ อ่าวอุดม. (2563). [ออนไลน์]. ขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิม. [สืบค้นเมื่อ18 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://web.facebook.com/TMKSriracha/,

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ. (2562). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน จังหวัดชลบุรี ปี 2562. [ออนไลน์] . [สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://data.cbo.moph.go.th/

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การวิจัยตลาดฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (2558). แนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนา ในเอกสารการสอน ชุดวิชาการสื่อสารกับการพัฒนา หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วสิฐพัชร์ วาฤทธิ์ ณัฐพงค์ แย้มเจริญ วโรชา สุทธิรักษ์ และพระเมธาวินัยรส. (2557). รูปแบบการสื่อสารด้านพระพุทธศาสนาสู่คนรุ่นใหม่ในประเทศไทยยุคปัจจุบัน. รายงานการวิจัยสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. กรุงเทพมหานคร, สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

วรุตน์ ประไพพักตร์. (2556). ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทเครื่องครัวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศักเกษม เจริญ. (2559). ความพึงพอใจในการบริโภคขนมเปี๊ยะครูสมทรง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาวิชาการประกอบอาหาร มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นุจนารถ ชิตธีระวัฒนา. (2559). พฤติกรรมการซื้อขนมเปี๊ยะบางเลน (เจ้าเก่า) ของลูกค้า. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ภูริชา กรพุฒินันท์. (2559). อิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.