การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์ โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานให้มีคุณภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานกับเกณฑ์ 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบ One Group Pretest – Posttest Design ผู้วิจัยดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) กับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นชั้นสูง ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์ รหัสวิชา 30100-0104 วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 กลุ่ม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติพื้นฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test Dependent)วิธีดำเนินการวิจัยนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นและผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วไปทดลองใช้กับผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้ โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย มีประสิทธิภาพ 82.63/80.29 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.5576 ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 55.76 และความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์ โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา : กรุงเทพมหานคร.
ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จรัส สุวรรณเวลา. (2545). การศึกษาที่มีวิจัยเป็นฐาน.กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2547). การสอนแบบ Research Based Learning. ในไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ). การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทร พงศ์กิตติคุณ. (2558). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ PATE. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 28(96),62-66.