ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อดอกไม้สดจากธุรกิจงานประดิษฐ์ ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ศิรินภา โออิน
ชญาภัทร์ กี่อาริโย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด 2) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อดอกไม้สดจากธุรกิจงานประดิษฐ์ของผู้บริโภคในเขต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามกับพฤติกรรมการเลือกซื้อดอกไม้สดจากธุรกิจงานประดิษฐ์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือก ซื้อดอกไม้สดจากธุรกิจงานประดิษฐ์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองภูเก็ต และเคยเลือกซื้อดอกไม้สดจากธุรกิจงานประดิษฐ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และPearsonChi-Squareวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-29 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย หรือรับจ้างทั่วไป ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 20,001 – 30,000 บาท และผู้บริโภคส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ในเทศบาลนครภูเก็ต  ทั้งนี้ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด โดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริโภคมีเหตุผลในการเลือกซื้อดอกไม้สด คือ เพื่อใช้ในพิธี หรืองานสำคัญ โดยเลือกจัดดอกไม้สดเป็นแบบช่อ ในราคาประมาณ 501-1,000 บาทโดยเลือกซื้อประมาณปีละ 2-3 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นดอกกุหลาบสีแดง ซื้อเนื่องในวาระโอกาสแสดงความยินดี และตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และแหล่งที่พักอาศัย กับพฤติกรรมการเลือกซื้อดอกไม้สดจากธุรกิจงานประดิษฐ์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  พบว่า มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้อดอกไม้สดจากธุรกิจงานประดิษฐ์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์กัน แต่ด้านส่งเสริมการตลาด ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อดอกไม้สดจากธุรกิจงานประดิษฐ์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิรินภา โออิน, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์  คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

รัชนี เฉลยฤกษ์. (2551) การบริหารจัดการร้านดอกไม้ที่มีผลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อของลูกค้าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

กรมการท่องเที่ยว. (2559) [ออนไลน์] สรุปจำนวนผู้เยี่ยมเยือน.[สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2560] จาก http://tourism2.tourism.go.th/home/details/11/221/25801.

ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2558)[ออนไลน์] จำนวนประชากรแยกรายอายุ จังหวัดภูเก็ต. [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559] จาก : http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php.

พัทธนันท์ มั่งมี. (2553) ความเป็นไปได้ของธุรกิจร้านดอกไม้ในเขตตำบลบางบ่ออำเภอบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุพิชฌาย์ศักดิ์ศรีพยากร. (2550) พฤติกรรมและทัศนคติการซื้อดอกไม้สดของผู้บริโภคที่มีต่อเครือข่ายมิสลิลลี่ เขตจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ตรีนุช ปรีเปรม. (2550) ปัจจัยการตัดสินใจซื้อดอกไม้ของลูกค้าในเขตเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

เกศรินทร์ บ่อทราย. (2557) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านดอกไม้ ในอำเภอหัวหิน จังหวัด

ประจวบคีรีขันธ์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เพิ่มศรี ทิพย์มนต์. (2550) การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดับแห้งของมูลนิธิโครงการหลวงสาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

วรัชญาจันทรประภาพร. (2552) พฤติกรรมการซื้อดอกไม้ประดิษฐ์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.