ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าด้านหัตถกรรม ของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำจังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

นุดา มั่งเจียม
ชญาภัทร์ กี่อาริโย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว 2) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าด้านหัตถกรรมของนักท่องเที่ยว 3) ศึกษาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า 4) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า และ5) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าด้านหัตถกรรมในตลาดน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว และเลือกซื้อสินค้าประเภทหัตถกรรมในตลาดน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson Chi-Square t-test และANOVA วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์


ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุ 21-25 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท 2) นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมเลือกซื้อสินค้าด้านหัตถกรรม อันดับที่ 1 คือ ผลิตภัณฑ์โลหะ ซึ่งมีจุดประสงค์ หรือเหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า คือ นำไปใช้เอง ทั้งนี้เลือกซื้อสินค้าเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าทันทีเมื่อเห็นสินค้า โดยซื้อสินค้าเฉลี่ยครั้งละประมาณ 51-100 บาท และนักท่องเที่ยวตัดสินใจซื้อสินค้าด้านหัตถกรรมด้วยตัวเอง 3) นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา ส่วนด้านการจัดจำหน่ายนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าด้านหัตถกรรมของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าด้านหัตถกรรมของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) การเปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าด้านหัตถกรรมของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพของนักท่องเที่ยว ที่ต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าด้านหัตถกรรมในตลาดน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม แตกต่างกัน ส่วนอายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของนักท่องเที่ยวที่ต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ใช้ในการ ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าด้านหัตถกรรมในตลาดน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นุดา มั่งเจียม, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

กศึกษามหาบัณฑิต  สาขาคหกรรมศาสตร์  คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ชญาภัทร์ กี่อาริโย, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี        ราชมงคลพระนคร

ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์  คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี        ราชมงคลพระนคร

References

กรมการท่องเที่ยว. (2558). [ออนไลน์] แผนยุทธศาสตร์การตลาดด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2555-2558 (ASEAN Tourism Marketing Strategy 2012-2015). (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558) เข้าถึงได้จาก : http://www.tourismkm-asean.org/wp-content/pdf/Plan-ASEAN-Tourism/ASEAN-Tourism-Marketing-Strategy-ATMS-2012-2015.pdf.

ขวัญข้าว พูลเพิ่ม. (2551). การอบบรมแผนการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในปี 2551. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยนเรศวร.

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). ข้อมูลจังหวัดสมุทรสงคราม. พ.ศ.2558. สำนักงานจังหวัดสมุทรสงคราม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ .(2558). จำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. 2558. จังหวัดสมุทรสงคราม.

จิราพร ชาสันเทียะ. (2552). พฤติกรรมการเลือกซื้อของที่ระลึกในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

กาญจนา กำแพงแก้ว. (2555). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการซื้อสินค้าหัตถกรรมพวงกุญแจในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คนึงนิจ อินวิน. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหัตถกรรมบ้านถวายของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ. การศึกษา

ค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศศิรัตน์ ลอยประเสริฐ .(2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตลาดร้อยปีสามชุกสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

รังสี สืบนุการณ์ .(2550). พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ตลาดริมน้ำดอนหวาย. สารนิพนธ์สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.

เสาวนีย์ สุนทรากร .(2553). พฤติกรรมการเลือกซื้อของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุพรรณี พุมมา. (2550).ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมโคมไฟกระดาษจากต้นธูปฤาษี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาคหกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.