คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ตามความต้องการของสถานประกอบการ : กรณีศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4

Main Article Content

ธัญญาภรณ์ บุญยืน
ธนภพ โสตรโยม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการที่ให้นักเรียนเข้าฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ 2) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ตามความต้องการของสถานประกอบการ และ 3) เปรียบเทียบระดับความต้องการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ของสถานประกอบการ จำแนกตามประเภทสถานประกอบการ ระยะเวลาในการดำเนินงานของกิจการ จำนวนพนักงานในสถานประกอบการ และจำนวนนักเรียนฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพที่ต้องการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าของหรือผู้จัดการสถานประกอบการที่ผ่านการรับนักเรียน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ จำนวน 103 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ANOVA วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์


          ผลการวิจัย พบว่า 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการที่ให้นักเรียนเข้าฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า สถานประกอบการ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจพาณิชยกรรม ซึ่งดำเนินธุรกิจมาแล้วเป็นระยะเวลา 5-10 ปี โดยมีจำนวนพนักงานไม่เกิน 10 คน และสถานประกอบการต้องการนักเรียนฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ จำนวน 2 คน 2) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ตามความต้องการของสถานประกอบการ ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม สถานประกอบการมีความต้องการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน และ 3) เปรียบเทียบระดับความต้องการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ของสถานประกอบการ จำแนกตามประเภทสถานประกอบการ ระยะเวลาในการดำเนินงานของกิจการ จำนวนพนักงานในสถานประกอบการ และจำนวนนักเรียนฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพที่ต้องการ ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านและรายข้อ ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
บุญยืน ธ. . ., & โสตรโยม ธ. . . (2023). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ตามความต้องการของสถานประกอบการ : กรณีศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 31(108), 87. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jted/article/view/1273
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ธัญญาภรณ์ บุญยืน, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร    

1นักศึกษามหาบัณฑิต  สาขาคหกรรมศาสตร์  คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร    

 

ธนภพ โสตรโยม, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

อาจารย์ ดร.ประจำหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). [ออนไลน์] การรับนักเรียนสายอาชีพ (เพิ่มเติม) ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ.[สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2559] จาก: http://bsq.

vec.go.th/innovation/policy.html.

ณัชปุณญา ศิลาทอง. (2558). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงาน สาขาวิชาการโรงแรม วิทยาลัย

เทคนิคระนอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ผู้จัดการออนไลน์. (2552). [ออนไลน์] ผลวิจัยชี้ ปชช. ตั้ง “ความ คาดหวัง” บัณฑิตไทยไม่ต้องเก่งขอแค่ “มหาวิทยาลัย” ใส่ใจเพิ่มทฤษฎี-ประสบการณ์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552]. จาก: http://

www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000035029

จักราวุศ ดีแสง. (2558). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานระดับอาชีวศึกษาตามความต้องการของสถานประกอบการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4. (2559). [ออนไลน์] ข้อมูลหลักสูตร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559] จาก: http://www.nc.ac.th/inde.

โสภาวรรณ คิ้มสุขศรี. (2553). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชนเข้าฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อัญชลีภรณ์ วงษ์คำ. (2550). ความพึงพอใจที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของผู้บริหารสถานประกอบการในจังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาราชภัฎเทพสตรี.

อนุรักษ์ บูรณธนิต. (2550). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของนักเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 1-3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

สมหมาย ชาญสิกขกร. (2553). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตามความต้องการของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในเครือข่ายภาคตะวันออกที่ 1. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

เจียมจิตร์ ไชยลังกา. (2554). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงราย.

ธีรวัฒน์ อิ่มประคองศิลป์. (2550). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานตามทัศนะผู้บริหารระดับ

กลางของสถานประกอบการด้านการโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.

มนตรี ศรีสถาพร. (2556). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการปง. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

พัฒนะ ธนกฤตพุฒิเมธ. (2553). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงตามความต้องการของหัวหน้างานในสถานประกอบการของนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาพัฒนอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.