การพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

วิภาส วิกรมสกุลวงศ์
นพดล พรามณี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม โดยใช้ทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยประชากรในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม จำนวนทั้งสิ้น 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 1) เครื่องมือที่ใช้พัฒนาบทเรียน ประกอบไปด้วย เว็บไซต์ Edmodo.com ที่อยู่ในรูปแบบระบบการจัดการการเรียนรู้และใบความรู้ผ่านสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Adobe InDesign CS6  2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินบทเรียน ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง e-Learning แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนจำนวน 20 ข้อ แบบประเมินผลตามสภาพจริง (คะแนนรูบริค) และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 85/84 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้บทเรียนอยู่ในระดับมาก  

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิภาส วิกรมสกุลวงศ์, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

นพดล พรามณี , คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551).[ออนไลน์].ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560].จาก https://www.curriculum51.net

Armstrong,J., & Franklin, T.(2008). A Review of Current and Developing International

Practice in the use of Social Networking (Web 2.0) in Higher Education. [n.p].

โสภาพรรณ ชื่นทองคำ.(2555).[ออนไลน์].กระบวนการ 5 S ตามทฤษฎี Constructionism พัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559].จาก http://www.km-cm1.net/?name=knowledge&file=readknowledge&id=296

ฉลอง ทับศรี.(2549). คู่มือการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design). ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

ชัยยงค์ พรหมวงศ์.(2556).การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย.ปีที่ 5 ฉบับที่ 1.7-20. มกราคม-มิถุนายน 2556